ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


ใบความรู้
เรื่องหลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
นักเรียนได้เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์กาพย์ กลอน โคลง และร่ายมาแล้วในชั้นก่อนในชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก และอ่านยากกว่าคำประพันธ์ทุกชนิด เพราะฉันท์มีข้อบังคับเรื่องคำครุ ลหุ เพิ่มขึ้นและคำและคำที่ใช้ในการแต่งฉันท์นั้นส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตเพราะคำไทยหาคำลหุที่มีความหมายได้ยาก
การศึกษาให้เข้าใจรูปแบบและลักษณะบังคับของฉันท์ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคำประพันธ์ประเภทฉันท์ สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง และเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความรู้เรื่องฉันท์ที่จะกล่าวถึงต่อไปในบทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะบังคับของฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่ง และปรากฏอยู่ในวรรณคดีประเภทคำฉันท์ของไทย เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการแต่งฉันท์ และในการอ่านวรรณคดีไทยให้เข้าใจยิ่งขึ้น
• ฉันท์ หมายถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่งของไทยที่มีข้อบังคับ เรื่องครุ ลหุ เพิ่มขึ้น
นอกเหนือจากเรื่องคณะและ สัมผัสซึ่งเป็นข้อบังคับในคำประพันธ์ชนิดอื่น
• ประเภทของฉันท์
• ฉันท์มากมายหลายชนิด การแบ่งชนิดของฉันท์ตามฉันทลักษณ์ให้สะดวกแก่การศึกษาอาจแบ่งเป็น ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑ ฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ และฉันท์ ๑๔ ฉันท์ประเภทนี้แบ่งเป็น ๒ บาท มีสัมผัสเหมือนกัน แต่ลักษณะการอ่านแตกต่างกันตามตำแหน่งคำครุ ลหุ มีสัมผัสบังคับ
• คือ สัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทเอก ( บาทที่หนึ่ง) ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายในวรรคแรกของบาทโท ( บาทที่สอง) ถ้าแต่งมากกว่าหนึ่งบท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท
คือ คำสุดท้ายของบทแรกจะต้องส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทเอกในบทต่อไป ส่วนสัมผัสที่เป็นเส้นประในแผนผัง เป็นสัมผัสระหว่างวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่สามของวรรคที่สองในบาทเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ บางบทจะมีสัมผัสดังกล่าว แต่บางบทก็ไม่มี

• ฉันท์ทั้ง ๒๔ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน
• ๑.จิตรปทาฉันท์ ๘ ๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘
• ๓. มาณวกฉันท์ ๘ ๔. ปมาณิกฉันท์ ๘
• ๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ ๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
• ๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑
• ๙. สาลินีฉันท์ ๑๑ ๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
• ๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ ๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
• ๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒ ๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
• ๑๕. กมลฉันท์ ๑๒ ๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
• ๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕ ๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕
• ๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖ ๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
• ๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ ๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐ ๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑






• เนื่องจากฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาไม่เหมือนกัน กวีจึงนิยมเลือกฉันท์ให้เหมาะสมกับเนื้อความที่ต้องการแต่ง ดังนี้
• ๑. บทไว้ครู บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทสรรเสริญพระเกียรติ ที่ต้องการให้มีความขลัง นิยมใช้ลัททุลวิกกีฬิตฉันท์
• ๒. บทพรรณนา บทชม หรือบทคร่ำครวญ เช่น พรรณนาความงามธรรมชาติ พรรณนาความงามของบ้านเมือง ชมความงามของผู้หญิง พรรณนาความรักและความเศร้าโศก เป็นต้น นิยมใช้วสันตดิลกฉันท์ หรืออินทรวิเชียรฉันท์
๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น และวิตกกังวล เป็นต้น หรือบรรยายเกี่ยวกับความรักที่เน้นอารมณ์
• ความนิยมในการเลือกใช้ฉันท์แต่งให้เหมาะสมกับเนื้อความที่กล่าวมานี้ มิได้เป็นข้อกำหนดตายตัวเป็นเพียงข้อสังเกต สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะกับเนื้อความเท่านั้น
• การอ่านฉันท์
เนื่องจากฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่บังคับครุลหุ การอ่านฉันท์จึงต้องอ่านให้ถูกต้องตามตำแหน่งคำครุลหุ และลีลาจังหวะของฉันท์แต่ละชนิด คำบางคำที่ปกติอ่านออกเสียงเป็นครุ เช่น คำว่า สุข (สุก) อาจจะออกเสียบงเป็นลหุสองพยางค์ว่า สุ-ขะ หรือออกเสียงว่า สุก-ขะ เมื่อบังคับให้อ่านเป็นครุเรียงกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น