ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การใช้สำนวนโวหาร

ขั้นตอนในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 คือ
1) บรรยายโวหาร
2) พรรณนาโวหาร

3) เทศนาโวหาร
4) สาธกโวหาร
5) อุปมาโวหาร
1. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร
1) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
2) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
3) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
4) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่อง และสัมพันธ์กัน
2. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ

หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
1) ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
2) ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
3) อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
3. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ

หลักการเขียนเทศนาโวหาร
การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น


4.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
5.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด








ความงามทางภาษาด้านการใช้โวหารภาพพจน์

ภาพพจน์ (Figure of speech) หมายถึง คำหรือกลุ่มคำที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำทำให้เกิดภาพที่แจ่มชัด และลึกซึ้งในจิตใจของผู้อ่านและผู้ฟัง ซึ่งผู้แต่งใช้กลวิธีในการเปรียบเทียบอย่างคมคายและหลายแบบ
ภาพพจน์เป็นเรื่องของภาษาเป็นเรื่องของศิลปะการใช้เสียงของการเปรียบเทียบคำ การใช้คำที่เป็นรูปธรรมเรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
๑. อุปมา (Simile)
อุปมา ได้แก่การเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน โดยมีบุพบทหรือสันธานเป็นตัวเชื่อม เป็นเครื่องติดต่อระหว่างคำที่นำมาเปรียบเทียบ อุปมาเป็นสิ่งที่นำมากล่าวเปรียบเทียบ อุปไมย คือเนื้อความที่ต้องการกล่าว คำเชื่อมดังกล่าว เช่น เหมือน ดัง ดุจ เพียง เช่น ราว ปาน ประหนึ่ง เทียม เทียมเฉก ปิ้ม ปานว่า ดุจดัง ราวกับ เหมือนดัง เฉกเช่น เป็นต้น
โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง ดังศรสักปักช้ำระกำทรวง
เสียดายดวงจันทราพะงางาม
"ใครกอดแม่แปรกอกแตกตาย ใครปาดป้ายด้วยดินหม้อเหมือนแมวคราว

ศิลาแลแวววาวดังดาวดวง เป็นเมฆม่วงมรกตทับทิมแดง
กระต่ายเหมือนกระต่ายป่าสองตาแดง ที่วางแห่งพิศแลเห็นแก่ตัว
ที่แผ่นเผินเนินผานั้นน่ากลัว ตัวเงื้อมตัวเหมือนจะพังลงทับตาย
๒. อุปลักษณ์ (Metaphor)
อุปลักษณ์เป็นการกล่าวเปรียบเทียบวิธีหนึ่ง แต่ต่างจากอุปมาตรงที่อุปลักษณ์จะไม่กล่าวเปรียบต่างๆ ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเองบางครั้ง เปรียบโดยไม่มีคำเชื่อมโยงหรือไม่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรง มักใช้คำกริยา เป็น หรือ คือ นำหน้า
ศิลาแลแวววาวดังดาวดวง เป็นเมฆม่วงมรกตทับทิมแดง
ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
เธอจะตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอจะตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
เธอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน
( เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
อิดโรยโหยหิวผิวเผือด คือมีดกรีดเชือดเลือดไหล
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเหน็บเจ็บใจ ทรามวัยทอดองค์ลงพักกาย
( กนกนคร )
๓. บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต (Personification)
บุคลาธิษฐาน มาจาก คำว่า บุคคล+อธิษฐาน คืออธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล หมายถึง ภาพพจน์ที่กล่าวถึงสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณ ไม่มีความคิด หรือสิ่งที่มิใช่สิ่งมีชีวิตทำกริยา เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกนึกคิด เช่น ฟ้าร้องไห้ ใบไม้เริงระบำ ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้สิ่งที่กล่าวถึงมีชีวิตชีวา ผู้รับสารก็จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวทำอาการกิริยาเหมือนคน มีอารมณ์ มีความรู้สึก และสามารถสื่อความนั้นออกมาถึงผู้รับสารได้
เฝ้าแหงนดูดวงแขชะแง้พักตร์ เห็นจันทร์ชักรถร่อนเวหาเหิน
ดูดวงเดือนเหมือนชื่อรื้อเผอิญ ระกำเกินที่จะเก็บประกอบกลอน
ทิวมะพร้าวแผ่นพยักโบกทักทาย เล่านิยายแย้มยวนชวนใจพิมพ์
วันนี้แพรสีแสดของแดดกล้า ห่มทุ่มหญ้าป่าเขาอย่างเหงาหงอย
โดยแรงลมริ้วฝุ่นหมุนตัวลอย เรา-ค่อยค่อยขว้างหล่นซบบนดิน
( สันติ ชนะเลิศ, รำพึงแห่งใบไม้)
๔. อติพจน์ (Hyperbole)
อติพจน์ คือการกล่าวเกินจริง ได้แก่ข้อความที่เปรียบเทียบเกินความจริง แต่ก็ทำให้เห็นภาพพจน์ได้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดูจริงจังประทับใจ ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการเปรียบเทียบที่เห็นภาพพจน์ได้ง่ายและสามารถแสดงออกถึงอารมณ์ของกวีได้อย่างชัดเจน
เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ำ
บ่เห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ ย่อมน้ำตาคน

เรียมร่ำน้ำเนตรท้วม ถึงพรหม
พาล่ำสัตว์จ่อมจม ชีพม้วย
พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงฤๅ
หากกนิษฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึ่งคง
๕. ปฏิทรรศน์ หรือ ปรพากย์ (Paradox)
ปฏิทรรศน์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน มากล่าวอย่างกลมกลืน ภาพพจน์ประเภทนี้ต้องวิเคราะห์ความหมายลงไปถึงจะเข้าใจ เพราะมักกล่าวในเชิงปรัชญา

๖. สัทพจน์ (Onematoboeia)
สัท แปลว่า เสียง สัทพจน์ หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียง หรือ แสดงลักษณะอาการต่างๆ เช่น เสียงดนตรี อาการของสัตว์ การมช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนรู้สึกได้ยินเสียงนั้นจริงๆ เสียงของคำก็มีลักษณะเด่นอยู่ในตัว
ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน
แอ้อี๋อ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

กรองทองตีครุ่มครึ่ม เดินเรียง
จ่าตะเติงเสียง ครุ่มครื้น
เสียงปีรี่เรื่อยเพียง การเวก
แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น