ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ
ปฏิทิน
เวลาทำการ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
- http://teacher-pp.blogspot.com
- http://joylunch.blogspot.com
- http://teacherrung.blogspot.com
- http://ksupar.blogspot.com
- http://kruorr.blogspot.com
- http://kunoi3373.blogspot.com
- http://kruornausar.blogspot.com
- http://yupawadee-yupa.blogspot.com
- http://rasita-kru.blogspot.com
- http://laddawanchor.blogspot.com
- http://annasomnuck.blogspot.com
- http://arpawan.blogspot.com
- http://fonsongsiengchai.blogspot.com
- http://www.google.com
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
เรื่อง -การแปลความ ตีความ ขยายความ
การแปลความ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 (2525:540)ให้ความหมายว่า "แปล"ไว้ว่า "ก.ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่ง ทำให้เข้าใจความหมาย"
ชวาล แพรัตกุล(2518:228-229) ได้ให้ความหมายของคำว่า "แปล"ไว้ว่า หมายถึง การแปลเจตนา และรู้ความหมายของเรื่องราวนั้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยถ้อยคำใหม่ สำนวนใหม่
พอสรุปความหมาย"การแปลความ"ได้ว่า หมายถึง การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ เช่น
หน้าวังหรือจะสั่งด้วยนะนก ในแนบอกของพี่ว่าโหยไห้
มิทันสั่งสกุณินก็บินไป ลงจับใกล้นกตะกรุมริมวุ้มวน
คำที่ขีดเส้นใต้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง นก
การตีความ
หมายถึง การอ่านที่พยายามหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อเขียนหรืออากัปกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง เพื่อทราบความหมายหรือเจตนาที่แท้จริงที่แฝงเร้นอยู่ ถ้าเป็นการสื่อความธรรมดาก็คงไม่ต้องตีความ แต่ถ้าอากัปกิริยาท่าทางกับคำพูดขัดแย้งกัน ผู้อ่านจะต้องค้นหาความจริงว่า เจตนาที่แท้จริง หมายถึงอะไรแน่
การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป
ตัวอย่างที่ 1
"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า
ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างที่ 2
เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
(นิราศพระบาท - สุนทรภู่)
ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น
ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์ ความขมขื่นตามลำพัง
สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย
การขยายความ
คือ การนำรายละเอียดมาพูดหรืออธิบายเสริมความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น อาจเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เหตุผลยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการอ้างอิงเปรียบเทียบให้ได้เนื้อความกว้างขวางออกไป จนเป็นที่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ความโศกเกิดจากความรัก ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ผู้ที่ละความรักเสียได้ ก็ไม่โศกไม่กลัว
(พุทธภาษิต)
ขยายความได้ว่า
เมื่อบุคคลมีความรักต่อสิ่งใด หรือคนใด เขาก็ต้องการให้สิ่งนั้น คนนั้นคงอยู่กับเขาตลอดไป มนุษย์โดยทั่วไปย่อมจะกลัวว่าสิ่งนั้นๆหรือคนที่ตนรักจะสูญหายหรือจากเขาไป ด้วยธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงสูญสลายไปตามสภาพการณ์ ถ้าบุคคลรู้ความจริงข้อนี้ เขาก็จะไม่โศกไม่กลัวต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น