การเขียนแสดงทรรศนะ คือการเขียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นการเขียนที่ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง และการแสดงทรรศนะของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้ความคิดเห็นควรจะอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์
การเขียนแสดงทรรศนะมีลักษณะอย่างไร
ลักษณะของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนซึ่งอาจเป็นการเขียนในเชิงตั้งข้อสังเกต ในเชิงสนับสนุน ในเชิงโต้แย้งหรือ หรือในเชิงประเมินค่าก็เป็นได้
การเขียนแสดงทรรศนะแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะออกเป็น๒ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง
๑. การเขียนแสดงความคิดเห็นคือการเขียนที่มุ่งแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และหาวิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไร ผู้เขียนต้องพิจารณาคิดค้นให้รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนทุกด้านทุกมุมด้วยสติปัญญา ความคิดอย่างชัดเจนแล้วจึงแสดงข้อคิดโดยชี้ข้อตำหนิหรือชมออกมา คิดเห็นเกี่ยวกับศาสตร์ต่าง ๆ เช่นวิชาสังคมศาสตร์ เป็นต้น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นนี้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทย่อย ดังนี้คือ ๑. การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยยึดด้านวิชาการมีเอกสารอ้างอิง ๒. การแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป เช่นการวิจารณ์เหตุการณ์ทางการเมือง การแสดงออกของวัยรุ่น รวมทั้งการเขียนบทความวิจารณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
๒. การเขียนโต้แย้ง หมายถึงการแสดงทรรศนะต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายโดยนำข้อมูลสถิติ หลักฐาน เหตุผลต่าง ๆ มาอ้างอิงในการสนับสนุนทัศนะของฝ่ายตน เพื่อคัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง
กระบวนการโต้แย้งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การตั้งหัวข้อโต้แย้ง ๒. การค้นคว้าหาข้อสนับสนุนทรรศนะและเรียบเรียงหัวข้อ ตามลำดับ ๓. การให้ความหมายคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นการโต้แย้ง ๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนในทัศนะของฝ่ายตรงข้าม
หลักการเขียนแสดงทรรศนะ
มีหลักการอยู่ ๕ ประการที่ควรจะต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. การเลือกเรื่อง การเลือกเรื่องที่จะเอามาวิจารณ์หรือเอามาเขียนแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักในการเลือกเรื่องดังนี้
๑.๑ เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้น
๑.๒ เลือกเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน
๒. การให้ข้อเท็จจริง งานเขียนที่ดีโดยเฉพาะงานเขียนหรือข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น การให้ข้อเท็จจริงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ ผู้เขียนที่มีความรับผิดชอบจะให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา
๓. การแสดงความคิดเห็น การเขียนแสดงความคิดเห็นจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงและการแสดงความคิดเห็นซึ่งในส่วนของการแสดงความคิดเห็นนี้ผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ นั่นคือการแสดงความคิดเห็นจากทรรศนะของตนซึ่งทรรศนะของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น-ความรู้ของแต่ละคน-มุมมองของแต่ละคน-ประสบการณ์ที่สั่งสมมา-ความมีจิตใจกว้างหรือแคบของผู้แสดงทัศนะ-ผู้เขียนแสดงทัศนะมีนัยซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ เช่นอาจมีผลประโยชน์แอบแฝง เป็นต้น
๔. การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะ มีส่วนสำคัญมากทีเดียวที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจหรือไม่สนใจงานเขียนของเรา การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะเรียงลำดับดังนี้๑. การตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเขียนและควรดึงดูดใจผู้อ่าน๒. การเปิดเรื่อง ใช้หลักการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนคำนำ คือเขียนให้ตรงประเด็นดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน๓. การลำดับเรื่อง ควรลำดับเรื่องให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนวกวน๔. การปิดเรื่อง ใช้หลักการเช่นเดียวกับการเขียนสรุป เช่นจบด้วยคำคม หรือคำประพันธ์ เป็นต้น
๕. การใช้ภาษา ควรใช้ภาษาอย่างสละสลวย ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ มีการใช้สำนวนโวหารอย่างเหมาะสมกับเรื่อง นอกจากนี้ใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ตรงตามอารมณ์ ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์รุนแรง
ให้นักเรียนอภิปรายแสดงทรรศนะของตนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการของทางโรงเรียน
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ
ปฏิทิน
เวลาทำการ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
- http://teacher-pp.blogspot.com
- http://joylunch.blogspot.com
- http://teacherrung.blogspot.com
- http://ksupar.blogspot.com
- http://kruorr.blogspot.com
- http://kunoi3373.blogspot.com
- http://kruornausar.blogspot.com
- http://yupawadee-yupa.blogspot.com
- http://rasita-kru.blogspot.com
- http://laddawanchor.blogspot.com
- http://annasomnuck.blogspot.com
- http://arpawan.blogspot.com
- http://fonsongsiengchai.blogspot.com
- http://www.google.com
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณนะคะคุณครูโบว์
ตอบลบขอบคุณมากค่ะ :)
ตอบลบ