ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ
ปฏิทิน
เวลาทำการ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
- http://teacher-pp.blogspot.com
- http://joylunch.blogspot.com
- http://teacherrung.blogspot.com
- http://ksupar.blogspot.com
- http://kruorr.blogspot.com
- http://kunoi3373.blogspot.com
- http://kruornausar.blogspot.com
- http://yupawadee-yupa.blogspot.com
- http://rasita-kru.blogspot.com
- http://laddawanchor.blogspot.com
- http://annasomnuck.blogspot.com
- http://arpawan.blogspot.com
- http://fonsongsiengchai.blogspot.com
- http://www.google.com
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
เรื่อง -การแปลความ ตีความ ขยายความ
การแปลความ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 (2525:540)ให้ความหมายว่า "แปล"ไว้ว่า "ก.ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่ง ทำให้เข้าใจความหมาย"
ชวาล แพรัตกุล(2518:228-229) ได้ให้ความหมายของคำว่า "แปล"ไว้ว่า หมายถึง การแปลเจตนา และรู้ความหมายของเรื่องราวนั้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยถ้อยคำใหม่ สำนวนใหม่
พอสรุปความหมาย"การแปลความ"ได้ว่า หมายถึง การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ เช่น
หน้าวังหรือจะสั่งด้วยนะนก ในแนบอกของพี่ว่าโหยไห้
มิทันสั่งสกุณินก็บินไป ลงจับใกล้นกตะกรุมริมวุ้มวน
คำที่ขีดเส้นใต้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง นก
การตีความ
หมายถึง การอ่านที่พยายามหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อเขียนหรืออากัปกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง เพื่อทราบความหมายหรือเจตนาที่แท้จริงที่แฝงเร้นอยู่ ถ้าเป็นการสื่อความธรรมดาก็คงไม่ต้องตีความ แต่ถ้าอากัปกิริยาท่าทางกับคำพูดขัดแย้งกัน ผู้อ่านจะต้องค้นหาความจริงว่า เจตนาที่แท้จริง หมายถึงอะไรแน่
การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป
ตัวอย่างที่ 1
"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า
ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างที่ 2
เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
(นิราศพระบาท - สุนทรภู่)
ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น
ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์ ความขมขื่นตามลำพัง
สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย
การขยายความ
คือ การนำรายละเอียดมาพูดหรืออธิบายเสริมความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น อาจเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เหตุผลยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการอ้างอิงเปรียบเทียบให้ได้เนื้อความกว้างขวางออกไป จนเป็นที่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ความโศกเกิดจากความรัก ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ผู้ที่ละความรักเสียได้ ก็ไม่โศกไม่กลัว
(พุทธภาษิต)
ขยายความได้ว่า
เมื่อบุคคลมีความรักต่อสิ่งใด หรือคนใด เขาก็ต้องการให้สิ่งนั้น คนนั้นคงอยู่กับเขาตลอดไป มนุษย์โดยทั่วไปย่อมจะกลัวว่าสิ่งนั้นๆหรือคนที่ตนรักจะสูญหายหรือจากเขาไป ด้วยธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงสูญสลายไปตามสภาพการณ์ ถ้าบุคคลรู้ความจริงข้อนี้ เขาก็จะไม่โศกไม่กลัวต่อไป
ลักษณะของวรรณคดี
วรรณคดี คือ คำที่ไทยบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษปรากฏเป็นหลักฐานทางราชการเป็นครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๗ กำหนดไว้ว่า หนังสือที่เป็นวรรณคดีได้มีอยู่ ๕ ชนิดคือ
๑. กวีนิพนธ์ คือ เรื่องที่กวีเป็นผู้แต่งขึ้นเป็นคำประพันธ์หรือบทร้อยกรอง ได้แก่ โคลง
ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น
๒. บทละครไทย คือ เรื่องที่แต่งเป็นบทละครรำ ประพันธ์เป็นคำกลอน มีกำหนดหน้า
พาทย์ ซึ่งได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบการเคลื่อนไหว เช่น ตอนยกทัพ ใช้เพลงกราวนอก เป็นต้น
๓. นิทาน คือ เรื่องที่กวีแต่งขึ้นไม่ใช่เรื่องจริง ปัจจุบันขยายความหมายของนิทานออกไปเป็น นวนิยาย และเรื่องสั้นด้วย
๔. ละครปัจจุบัน คือละครไทยที่เอาแบบอย่างมาจากยุโรป ตัวละครแต่งตามชีวิตจริง
๕. อธิบาย (essay) คือ ความเรียงอธิบาย บางทีก็เป็นรูปของบทความต่างๆ ที่เขียนลงในหนังสือพิมพ์
คุณสมบัติของวรรณคดี
วรรณคดีสโมสรกำหนดคุณสมบัติของวรรณคดีไว้ว่า
๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สาธารณะชนอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ หรือชักจูงผู้อ่านไปในทางไม่เป็นแก่นสาร หรือจะชวนให้คิดวุ่นวายทางการเมือง
๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใดๆก็ตาม แต่ต้องเป็นภาษาไทยที่ดีถูกต้องตามเยี่ยงอย่างโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้
สาเหตุการเกิดวรรณคดี
๑. เกิดจากความภาคภูมิใจในวีรชนและชาติกำเนิดของตน
๒. เกิดจากความเชื่อ และความเลื่อมใสในศาสนา
๓. เกิดจากขนบธรรมเนียมนิยม วัฒนธรรม และประเพณี
๔. เกิดจากความต้องการปลุกใจให้เกิดความรักชาติ
๕. เกิดจากอารมณ์ของกวีอันเนื่องมาจากความรู้สึกสงสารและสมเพชในเหตุการณ์
๖. เกิดจากอารมณ์ทางเพศเป็นพื้นฐาน
๗. เกิดจากความต้องการทางด้านมหรสพ
๘. เกิดจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีมีการจำแนกได้หลายลักษณะ ดังนี้
๑. จำแนกตามลักษณะของคำประพันธ์ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑.๑ ร้อยแก้ว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยแก้ว
๑.๒ ร้อยกรอง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยกรอง
๒. จำแนกตามลักษณะการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
๒.๑ วรรณคดีที่ไม่ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นวรรณคดีที่เล่าต่อๆกันมา อย่างที่เรียกว่า”วรรณคดีมุขปาฐะ”
๒.๒ วรรณคดีที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่มีการจารึกเป็นหลักฐานแน่นอน
๓. จำแนกตามวัตถุประสงค์ ได้ ๒ ประเภท คือ
๓.๑ วรรณคดีแท้ หรือวรรณคดีบริสุทธิ์ เป็นวรรณคดีที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ เป็นวรรณคดีเกิดจากอารมณ์สะเทือนใจของผู้แต่ง
๓.๒ วรรณคดีประยุกต์ เป็นวรรณคดีที่ผู้แต่ง แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายนอกเหนือไปจากความเพลิดเพลิน แต่งขึ้นเพื่อมุ่ง
ประโยชน์อย่างอื่น เช่น บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ฯลฯ
๔. จำแนกตามลักษณะเนื้อเรื่อง ได้ ๕ ประเภทคือ
๔.๑ วรรณคดีการละคร หรือนาฏการ
๔.๒ วรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาและคำสอน
๔.๓ วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือพิธีการ
๔.๔ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ หรือวรรณคดีทางประวัติศาสตร์
๔.๕ วรรณคดีเกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดีนิราศเรื่องต่างๆ
ประโยชน์ของวรรณคดี
๑. ได้รับความบันเทิง ได้แก่ ความพอใจ ความเพลิดเพลิน ความสุข อันเกิดจากเนื้อเรื่องและอรรถรสทางภาษา
๒. ได้รับความรู้ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านภาษา ด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น
๓. ได้คติธรรม ได้แก่ แง่คิดและสิ่งเตือนใจที่เป็นประโยชน์
๔. ได้ปรัชญาชีวิต ได้แก่ การเกิดความเข้าใจในชีวิต และโลกตามความเป็นจริง ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติวรรณคดี
๑. ทำให้ทราบถึงความเป็นมา วิวัฒนาการของวรรณคดีไทย กำเนิดของวรรณคดีไทย
๒. ทำให้ทราบถึงความสามารถของกวี ที่สามารถสะท้อนภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความรู้ ความคิด ผ่านวรรณคดี ทำให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษในสมัยของวรรณคดีนั้นๆ
๓. ทำให้ทราบถึงภูมิปัญญาของไทยในแง่มุมต่างๆ เช่น ศิลปะการใช้ภาษา
การดำเนินชีวิต เป็นต้น
๔. ทำให้ตระหนักถึงสิ่งที่ดีงามของชาติ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553
การแต่งโคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งคือ "ลิลิตพระลอ"
มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับ ของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่
การประพันธ์โคลงสี่สุภาพการประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำ
ที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า
เราต้องรู้อะไรกันบ้างในโคลงสี่สุภาพ1.1 บทหนึ่งมีกี่บาท1.2 บาทหนั่งมีกี่วรรค1.3 วรรคหนึ่งๆ มีกี่พยางค์1.4 บังคับสัมผัสตรงไหน1.5 บังคับรูปวรรณยุกต์ที่พยางค์ใด
ลักษณะโคลงสี่สุภาพคณะของโคลงสี่สุภาพ คือ บทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3
จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โทบาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอกบาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับ ของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่
การประพันธ์โคลงสี่สุภาพการประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำ
ที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า
เราต้องรู้อะไรกันบ้างในโคลงสี่สุภาพ1.1 บทหนึ่งมีกี่บาท1.2 บาทหนั่งมีกี่วรรค1.3 วรรคหนึ่งๆ มีกี่พยางค์1.4 บังคับสัมผัสตรงไหน1.5 บังคับรูปวรรณยุกต์ที่พยางค์ใด
ลักษณะโคลงสี่สุภาพคณะของโคลงสี่สุภาพ คือ บทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3
จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โทบาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอกบาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
ตัวอย่างเสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอยเสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้าสองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ— ลิลิตพระลอ
เรื่อง รักษาธรรมชาติ..........ธรรมชาติช่วยแต่งแต้ม สีสันโลกหนอมีป่าเขาสูงชัน ย่อมรู้วอนทุกท่านให้หัน ช่วยรักษาแฮเพราะเพื่อช่วยกอบกู้ สิ่งใกล้เสียหาย
ฝั่งฝันเพียงคลื่นเคล้า เคลียคลอ
สาดซัดฟองลออ อุ่นเย้า
ทุกยามฝั่งคอยรอ รับคลื่น สาดนา
ไยคลื่นครวญเฉกเศร้า โศกล้นเหลือแสน๚
๏ โครมครามยามคลื่นม้วน สาดมา
เพียงกระทบหินผา ผกย้อน
อึกกระทึกหากหา เหตุเกิด ขึ้นนอ
เสียงคลื่นเงียบสะท้อน เหตุร้ายอาจมี
๏ อำนาจหากหดสิ้น สูญหาย
ชนย่อมเกิดเสียดาย เดือดร้อน
รวมพลก่อกวนหมาย คืนอำนาจนา
กวนคลื่นกระแสซ้อน ซ่อนใต้สายชล
เรื่อง รักษาธรรมชาติ..........ธรรมชาติช่วยแต่งแต้ม สีสันโลกหนอมีป่าเขาสูงชัน ย่อมรู้วอนทุกท่านให้หัน ช่วยรักษาแฮเพราะเพื่อช่วยกอบกู้ สิ่งใกล้เสียหาย
ฝั่งฝันเพียงคลื่นเคล้า เคลียคลอ
สาดซัดฟองลออ อุ่นเย้า
ทุกยามฝั่งคอยรอ รับคลื่น สาดนา
ไยคลื่นครวญเฉกเศร้า โศกล้นเหลือแสน๚
๏ โครมครามยามคลื่นม้วน สาดมา
เพียงกระทบหินผา ผกย้อน
อึกกระทึกหากหา เหตุเกิด ขึ้นนอ
เสียงคลื่นเงียบสะท้อน เหตุร้ายอาจมี
๏ อำนาจหากหดสิ้น สูญหาย
ชนย่อมเกิดเสียดาย เดือดร้อน
รวมพลก่อกวนหมาย คืนอำนาจนา
กวนคลื่นกระแสซ้อน ซ่อนใต้สายชล
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553
การเขียนแสดงทรรศนะ คือการเขียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นการเขียนที่ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง และการแสดงทรรศนะของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้ความคิดเห็นควรจะอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์
การเขียนแสดงทรรศนะมีลักษณะอย่างไร
ลักษณะของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนซึ่งอาจเป็นการเขียนในเชิงตั้งข้อสังเกต ในเชิงสนับสนุน ในเชิงโต้แย้งหรือ หรือในเชิงประเมินค่าก็เป็นได้
การเขียนแสดงทรรศนะแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะออกเป็น๒ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง
๑. การเขียนแสดงความคิดเห็นคือการเขียนที่มุ่งแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และหาวิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไร ผู้เขียนต้องพิจารณาคิดค้นให้รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนทุกด้านทุกมุมด้วยสติปัญญา ความคิดอย่างชัดเจนแล้วจึงแสดงข้อคิดโดยชี้ข้อตำหนิหรือชมออกมา คิดเห็นเกี่ยวกับศาสตร์ต่าง ๆ เช่นวิชาสังคมศาสตร์ เป็นต้น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นนี้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทย่อย ดังนี้คือ ๑. การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยยึดด้านวิชาการมีเอกสารอ้างอิง ๒. การแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป เช่นการวิจารณ์เหตุการณ์ทางการเมือง การแสดงออกของวัยรุ่น รวมทั้งการเขียนบทความวิจารณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
๒. การเขียนโต้แย้ง หมายถึงการแสดงทรรศนะต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายโดยนำข้อมูลสถิติ หลักฐาน เหตุผลต่าง ๆ มาอ้างอิงในการสนับสนุนทัศนะของฝ่ายตน เพื่อคัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง
กระบวนการโต้แย้งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การตั้งหัวข้อโต้แย้ง ๒. การค้นคว้าหาข้อสนับสนุนทรรศนะและเรียบเรียงหัวข้อ ตามลำดับ ๓. การให้ความหมายคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นการโต้แย้ง ๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนในทัศนะของฝ่ายตรงข้าม
หลักการเขียนแสดงทรรศนะ
มีหลักการอยู่ ๕ ประการที่ควรจะต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. การเลือกเรื่อง การเลือกเรื่องที่จะเอามาวิจารณ์หรือเอามาเขียนแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักในการเลือกเรื่องดังนี้
๑.๑ เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้น
๑.๒ เลือกเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน
๒. การให้ข้อเท็จจริง งานเขียนที่ดีโดยเฉพาะงานเขียนหรือข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น การให้ข้อเท็จจริงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ ผู้เขียนที่มีความรับผิดชอบจะให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา
๓. การแสดงความคิดเห็น การเขียนแสดงความคิดเห็นจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงและการแสดงความคิดเห็นซึ่งในส่วนของการแสดงความคิดเห็นนี้ผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ นั่นคือการแสดงความคิดเห็นจากทรรศนะของตนซึ่งทรรศนะของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น-ความรู้ของแต่ละคน-มุมมองของแต่ละคน-ประสบการณ์ที่สั่งสมมา-ความมีจิตใจกว้างหรือแคบของผู้แสดงทัศนะ-ผู้เขียนแสดงทัศนะมีนัยซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ เช่นอาจมีผลประโยชน์แอบแฝง เป็นต้น
๔. การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะ มีส่วนสำคัญมากทีเดียวที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจหรือไม่สนใจงานเขียนของเรา การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะเรียงลำดับดังนี้๑. การตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเขียนและควรดึงดูดใจผู้อ่าน๒. การเปิดเรื่อง ใช้หลักการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนคำนำ คือเขียนให้ตรงประเด็นดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน๓. การลำดับเรื่อง ควรลำดับเรื่องให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนวกวน๔. การปิดเรื่อง ใช้หลักการเช่นเดียวกับการเขียนสรุป เช่นจบด้วยคำคม หรือคำประพันธ์ เป็นต้น
๕. การใช้ภาษา ควรใช้ภาษาอย่างสละสลวย ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ มีการใช้สำนวนโวหารอย่างเหมาะสมกับเรื่อง นอกจากนี้ใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ตรงตามอารมณ์ ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์รุนแรง
ให้นักเรียนอภิปรายแสดงทรรศนะของตนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการของทางโรงเรียน
การเขียนแสดงทรรศนะมีลักษณะอย่างไร
ลักษณะของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนซึ่งอาจเป็นการเขียนในเชิงตั้งข้อสังเกต ในเชิงสนับสนุน ในเชิงโต้แย้งหรือ หรือในเชิงประเมินค่าก็เป็นได้
การเขียนแสดงทรรศนะแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ประเภทของการเขียนแสดงทรรศนะการเขียนแสดงทรรศนะออกเป็น๒ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง
๑. การเขียนแสดงความคิดเห็นคือการเขียนที่มุ่งแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และหาวิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไร ผู้เขียนต้องพิจารณาคิดค้นให้รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนทุกด้านทุกมุมด้วยสติปัญญา ความคิดอย่างชัดเจนแล้วจึงแสดงข้อคิดโดยชี้ข้อตำหนิหรือชมออกมา คิดเห็นเกี่ยวกับศาสตร์ต่าง ๆ เช่นวิชาสังคมศาสตร์ เป็นต้น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นนี้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทย่อย ดังนี้คือ ๑. การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยยึดด้านวิชาการมีเอกสารอ้างอิง ๒. การแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป เช่นการวิจารณ์เหตุการณ์ทางการเมือง การแสดงออกของวัยรุ่น รวมทั้งการเขียนบทความวิจารณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
๒. การเขียนโต้แย้ง หมายถึงการแสดงทรรศนะต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายโดยนำข้อมูลสถิติ หลักฐาน เหตุผลต่าง ๆ มาอ้างอิงในการสนับสนุนทัศนะของฝ่ายตน เพื่อคัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง
กระบวนการโต้แย้งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การตั้งหัวข้อโต้แย้ง ๒. การค้นคว้าหาข้อสนับสนุนทรรศนะและเรียบเรียงหัวข้อ ตามลำดับ ๓. การให้ความหมายคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นการโต้แย้ง ๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนในทัศนะของฝ่ายตรงข้าม
หลักการเขียนแสดงทรรศนะ
มีหลักการอยู่ ๕ ประการที่ควรจะต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. การเลือกเรื่อง การเลือกเรื่องที่จะเอามาวิจารณ์หรือเอามาเขียนแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักในการเลือกเรื่องดังนี้
๑.๑ เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้น
๑.๒ เลือกเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน
๒. การให้ข้อเท็จจริง งานเขียนที่ดีโดยเฉพาะงานเขียนหรือข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น การให้ข้อเท็จจริงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ ผู้เขียนที่มีความรับผิดชอบจะให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านอย่างตรงไปตรงมา
๓. การแสดงความคิดเห็น การเขียนแสดงความคิดเห็นจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงและการแสดงความคิดเห็นซึ่งในส่วนของการแสดงความคิดเห็นนี้ผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ นั่นคือการแสดงความคิดเห็นจากทรรศนะของตนซึ่งทรรศนะของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น-ความรู้ของแต่ละคน-มุมมองของแต่ละคน-ประสบการณ์ที่สั่งสมมา-ความมีจิตใจกว้างหรือแคบของผู้แสดงทัศนะ-ผู้เขียนแสดงทัศนะมีนัยซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ เช่นอาจมีผลประโยชน์แอบแฝง เป็นต้น
๔. การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะ มีส่วนสำคัญมากทีเดียวที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจหรือไม่สนใจงานเขียนของเรา การเรียบเรียงงานเขียนแสดงทรรศนะเรียงลำดับดังนี้๑. การตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเขียนและควรดึงดูดใจผู้อ่าน๒. การเปิดเรื่อง ใช้หลักการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนคำนำ คือเขียนให้ตรงประเด็นดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน๓. การลำดับเรื่อง ควรลำดับเรื่องให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนวกวน๔. การปิดเรื่อง ใช้หลักการเช่นเดียวกับการเขียนสรุป เช่นจบด้วยคำคม หรือคำประพันธ์ เป็นต้น
๕. การใช้ภาษา ควรใช้ภาษาอย่างสละสลวย ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ มีการใช้สำนวนโวหารอย่างเหมาะสมกับเรื่อง นอกจากนี้ใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ตรงตามอารมณ์ ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์รุนแรง
ให้นักเรียนอภิปรายแสดงทรรศนะของตนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการของทางโรงเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)