ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ใบความรู้ 1 สามัคคีเภทคำฉันท์


ภูมิหลังของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
นายชิต บุรทัต ได้ประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยอาศัยเค้าเรื่องจาก สุมังคลาวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งพระสุคุณคณาภรณ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร แปลและเรียบเรียงลงในหนังสือธรรมจักษุ วรรณคดีคำฉันท์เรื่องนี้แต่งเสร็จในเวลาเพียง ๓ เดือน และขณะนั้น ชิต บุรทัต มีอายุเพียง ๒๒ ปีเท่านั้น

แรงบันดาลใจของการแต่งสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากมูลเหตุที่ ชิต บุรทัต ได้อ่านพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในอิลราชคำฉันท์ บทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) เมื่อครั้งบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสารประเสริฐ ในตอนท้ายของพระราชนิพนธ์คำนำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชวโรกาสแก่ผู้สนใจในทางการประพันธ์ร้อยกรอง แต่งหนังสือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระองค์ทรงตรวจแก้ชี้แนะเพื่อประโยชน์แก่การประพันธ์กวีนิพนธ์ของไทยต่อไป
ดังความว่า
"อนึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาโอกาสอันนี้เพื่อแสดงว่า ถ้าแม้ผู้ใดริเริ่มจะนิพนธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าตรวจและแนะบ้าง อย่างที่ข้าพเจ้าช่วยหลวงสารประเสริฐมานี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับข้าพเจ้าแล้วแต่ก่อนก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยินดีช่วยตรวจ และแสดงความเห็นเท่าที่ข้าพเจ้าสามารถจะทำได้ เพื่อช่วยอนุเคราะห์ผู้ที่มีความพอใจในทางจินตกวีนิพนธ์และเพื่อประโยชน์แก่วิชากวีของไทยเรานั้นด้วยใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ชิต บุรทัต ได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยวรรณคดี คำฉันท์เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยหนังสือพิมพ์ไทยจำนวน ๕๐๐ เล่ม มีขุนสันทัดอักษรสาร (ฮอก อักษรานุเคราะห์) เป็นบรรณาธิการ และมีขุนนัยวิจารณ์ ((เปล่ง ดิษยบุตร์) เป็นผู้ช่วยตรวจแก้ไขขัดเกลาต้นฉบับ หลังจากนั้นหนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์เล่มนี้ออกวางจำหน่าย ได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ชิต บุรทัต จึงได้มอบ สามัคคีเภทคำฉันท์ ให้เป็นสมบัติของหอสมุทรวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นเหตุให้กรมศิลปากรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สามัคคีเภทคำฉันท์ฉบับสำนวนแรกนี้ และต่อมาได้เป็นผู้อนุญาตให้สำนักพิมพ์เอกชนตีพิมพ์สามัคคีเภทคำฉันท์สำนวนนี้อีกหลายครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม เกยานนท์) เสนอให้กระทรวงธรรมการใช้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นแบบเรียน กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นหนังสือแบบเรียนกวีนิพนธ์ บังคับสำหรับเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (ม.๘) ใน พ.ศ. ๒๔๗๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น