ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ
ปฏิทิน
เวลาทำการ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
- http://teacher-pp.blogspot.com
- http://joylunch.blogspot.com
- http://teacherrung.blogspot.com
- http://ksupar.blogspot.com
- http://kruorr.blogspot.com
- http://kunoi3373.blogspot.com
- http://kruornausar.blogspot.com
- http://yupawadee-yupa.blogspot.com
- http://rasita-kru.blogspot.com
- http://laddawanchor.blogspot.com
- http://annasomnuck.blogspot.com
- http://arpawan.blogspot.com
- http://fonsongsiengchai.blogspot.com
- http://www.google.com
คลังบทความของบล็อก
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การเขียนบทความ
การเขียนบทความ
บทความเป็นความเรียงที่มีลักษณะพิเศษผิดจากเรียงความเรียงธรรมดา เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น
ความมุ่งหมายในการเขียนบทความ
1. เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. เพื่อพรรณนา ทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่
3. เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดของผู้เชียน
4. เพื่ออธิบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม
ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ ดังนี้
1. ประเภทปัญหาโต้แย้ง
2. ประเภทเสนอคำแนะนำ
3. ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
4. ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
5. ประเภทเปรียบเทียบสมมติหรืออุปมาอุปไมย
ลัษณะของบทความที่ดี
1. น่าสนใจ มีเนื้อหา เหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
2. มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
3. มีขนาดกะทัดรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆถูกต้องตามหลักภาษา
4. ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
5. มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป
ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)
หลักการเขียนบทความ
การเขียนบทความมีหลักเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ มีการแบ่งโครงเรื่องเป็น 3 ตอนคือ นำเรื่อง(ความนำ) เนื้อเรื่อง(ดำเนินเรื่อง) และจบเรื่อง(ลงท้าย สรุปความ)
ขั้นตอนการเขียนบทความ
1. การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่คนกำลังสนใจ หรือกำลังเป็นข่าวเด่น ผู้เขียนมีความรู้หรือมีทางที่จะหาความรู้ที่ลึกซึ้งได้รู้จักกำหนดขอบเขตของเรื่องให้อยู่ในวงพอเหมาะเพื่อจะได้เสนอเรื่องราวและความคิดอย่างสมบูรณ์เป็นพิเศษ
2. การรวบรวมเนื้อหา กรณีมีมูล ต้องออกสืบหาให้ได้ชัดเจนอาจด้วยวิธีไปยังแหล่งต้นกำเนิด การสัมภาษณ์ การอ่านเอกสาร ทดลองปฏิบัติ จนคิดว่าเป็นหลักฐานน่าเชื่อถือได้ในทางวิชาการ ควรบันทึกข้อมูลเอกสาร อ้างอิงไว้ด้วย
3. การกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะของการเขียน เลือกสำนวนการเขียนให้ตรงกับ ความประสงค์ปลายทางว่าต้องการให้ ผู้อ่านได้รับอะไร ทำอะไร คิดอย่างไร เป็นต้น
4. การวางโครงเรื่อง เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ระวังรูปแบบของบทความที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากนั้นควรกำหนด กลวิธีการเขียนและการดำเนินเรื่องให้สอดคล้องต้องกัน ทำให้ได้สาระตรงตามจุดหมายที่วางไว้
5. การตั้งใจเขียนให้ได้เนื้อหาสาระ อ่านเพลิน ใช้ภาษาแจ่มแจ้งเร้าใจชวนให้ติดตาม ใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือเสนอทัศนะ แปลก ลึกซึ้ง ประทับใจและกว้างขวางเท่าที่จะทำได้
6. ทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่ ครอบคลุมหมดหรือยัง ถ้าไม่ตรงไม่ครอบคลุมก็ควรแก้ไข
7. เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรเก็บไว้สักสองสามวันแล้วนำมาอ่านตรวจทาน พิจารณาอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาทางทำให้ดีขึ้น ถ้ามี เวลาให้ผู้รู้อ่านวิจารณ์ด้วยก็ควรจะทำ เพื่อจะได้นำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุงผลงานจะได้สมบูรณ์มากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)