ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

การอ่านเพื่อการค้นคว้า2


การแบ่งประเภทหนังสือตามลักษณะคำประพันธ์ สามารถจัดได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑) ร้อยแก้ว
ร้อยแก้ว ได้แก่ หนังสือที่แต่งเป็นความเรียง สละสลวย ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่ง หรือกำหนดคณะอย่างร้อยกรอง เดิมแต่งเพื่อบันเทิงเรื่องราวที่เป็นหลักฐานของบ้านเมืองกฎหมาย ประกาศต่าง ๆ ของทางราชการ นิทานสอนใจ หรือ หนังสือศาสนา เช่น พระราชพงศาวดารต่าง ๆ นิทานชาดก ศิลาจารึก ต่อมาได้แต่งในรูปแบบต่าง ๆ กันออกไป เช่น เรื่องสั้น นิทาน นวนิยาย บทละคร บทวิจารณ์ เป็นต้น
๒) ร้อยกรอง
ร้อนกรอง ได้แก่ หนังสือที่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือมีการกำหนดคณะ เช่น กำหนดจำนวนคำ กำหนดสัมผัส กำหนดเสียงหนักเบา (ครุ ลหุ) ซึ่งข้อกำหนดนี้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของร้อยกรองนั้น ๆ ร้อยกรองในปัจจุบัน ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต กาพย์ห่อโคลง กลบท


การแบ่งประเภทหนังสือตามเนื้อหา สามารถจัดได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑) ตำรา
ตำรา คือ หนังสือที่มีเนื้อหาทางวิชาการล้วน ๆ ได้แก่ แบบเรียนต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา ปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น
๒) สารคดี
สารคดี คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสาระให้ความรู้ ความคิด และส่งเสริมภูมิปัญญาไปด้วย ซึ่งอาจจะเขียนในรูปของบทความ บทวิจารณ์ ความทรงจำ จดหมาย บันทึก บทอภิปราย ปาฐกถา บทสัมภาษณ์ หรือแม้แต่หนังสืออ้างอิงต่าง ๆ เช่นสานุกรม พจนานุกรม ชีวประวัติ
๓) บันเทิงคดี
บันเทิงคดี คือ หนังสือที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าความจริงของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกิดความบันเทงเป็นสำคัญ หนังสือประเภทนี้จะประกอบด้วย เหตุการณ์ บุคคล ฉาก แนวคิด สถานที่ เวลา เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละครพูด เป็นต้น

การแบ่งประเภทหนังสือตามลักษณะรูปเล่มและกำหนดเวลาที่ออก สามารถจัดได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้



๑) หนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือที่มีรูปเล่มเป็นกระดาษขนาดใหญ่ จำนวนหลายแผ่นพับได้ แต่จะไม่เย็บติดกันเป็นเล่ม มีกำหนดออกเป็นประจำวันสม่ำเสมอ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ เป็นต้น
๒) หนังสือรายคาบ
หนังสือรายคาบ คือ หนังสือที่พิมพ์เป็นรูปเล่มเย็บติดกันเรียบร้อย ส่วนใหญ่เป็นหนังสือปกอ่อน มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ฯลฯ ได้แก่ หนังสือวารสาร นิตยสารต่าง ๆ เช่น กุลสตรี ขวัญเรือน สกุลไทย เป็นต้น
๓) หนังสือเล่ม
หนังสือเล่ม คือ หนังสือที่พิมพ์เป็นรูปเล่มมั่นคง มีทั้งที่เป็นหนังสือปกแข็ง และปกอ่อน หนังสือปกแข็งมักจะมีจำนวนหน้ามาก เพราะเนื้อหามาก เช่น หนังสือนวนิยาย ส่วนเรื่องสั้นมักจะพิมพ์เป็นเล่มปกอ่อน เนื่องจากมีจำนวนหน้าไม่มาก
๔) จุลสารหรืออนุสาร
จุลสารหรืออนุสาร คือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มบาง ๆ อาจมีความยาวเพียง ๒ – ๓ หน้า หรือมากกว่านั้น ตามปกติหนังสือเหล่านี้จะมีคุณค่าอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มิได้มีจุดมุ่งหมายให้เก็บไว้เป็นถาวร ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งพิมพ์ที่หน่วยราชการ องค์กร สถาบัน หรือสมาคมต่าง ๆ จัดพิมพ์เผลแพร่ในโอกาสต่าง ๆ



การแบ่งประเภทหนังสือตามคุณสมบัติของหนังสือ สมารถจดได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑) วรรณคดี
วรรณคดี หมายถึงหนังสือที่แต่งดี หรือมีลักษณะของวรรณศิลป์ ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา ๗ ว่า มีอยู่ ๕ ประเภท ได้แก่ กวีนิพนธ์ ละครไทย นิทาน ละครพูด และอธิบาย ทั้งนี้หนังสือ ๕ ประเภทนี้ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
๑.๑) เป็นหนังสือดี คือ เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่สั่งสอนสิ่งผิด หรือชุกจุงผู้อ่านไปในทางไม่เป็นแก่นสาร
๑.๒) เป็นหนังสือแต่งดี คือ เรียบเรียงเป็นภาษาไทยที่ดีถูกต้องตามแบบที่ใช้ในสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบัน
๒) วรรณกรรม
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือทั่วไปทุกชนิด วรรณกรรมที่แต่งดี มีศิลปะแห่งการเรียบเรียงถ้อยคำ หรือมีวรรณศิลป์ ได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปจึงเรียกว่าวรรณคดี
วรรณกรรม ปรากฏเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งได้นิยามคำว่าวรรณกรรมและศิลปกรรมไว้รวมกันว่า “หมายความรวมการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ จะแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม..."


การอ่านเพื่อการค้นคว้า1

การอ่าน

การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การอ่านจึงมีความสำคัญ ดังนี้


๑) การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน
จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ
๒) การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน
ไปพัฒนางานของตนได้
๓) การอ่านเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมของคนรุ่นต่อ ๆ ไป
๔) การอ่านเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนมีความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการอ่าน
เมื่อเก็บสะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะทำให้เกิดความคิด เกิดสติปัญญา เป็นคนฉลาดรอบรู้ได้
๕) การอ่านเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความสุข
ให้กับตนเองที่ง่ายที่สุด และได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
๖) การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ
เพราะเมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนำความรู้ไปใช่ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
๗) การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเมือง การปกครอง ศาสนา ประวัติศาสตร์ และสังคม
๘) การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ