ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเขียน


การเขียน
1. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2. ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้
1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ
2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง


การเขียนย่อความ
การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อเรื่องอะไร
- ใครเป็นผู้แต่ง
- จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
- มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- ความฉบับแรกว่าอะไร
- ใครตอบเมื่อไร
- มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อ…..ของใคร
- กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
- เรื่องอะไร (ถ้ามี)
- เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
- ณ ที่ใด
- เมื่อไร
- ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
- มีความว่า……


ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.

การใช้ระดับภาษา

การใช้ภาษาตามระดับภาษา



ลักษณะภาษาในระดับต่างๆ

ภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
๑. ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อสารมวลชน
หรือในที่ประชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถาคำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด
๒. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน
สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม
จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการวิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับ
กึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ
จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง
๔. ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษา
ไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา ได้แก่ การสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาใน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร
จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์
๕. ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษา
อาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น
บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์



หลักการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา

การใช้ภาษาระดับใดในการสื่อสารจึงจะเหมาะสมนั้น ควรพิจารณาดังนี้
๑. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ถ้าใช้ภาษาสื่อสารกับบุคคลที่มีความคุ้นเคย ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากอาจใช้ภาษาระดับกันเอง แต่ถ้าไม่คุ้นเคยกับบุคคลนั้น
ควรใช้ภาษาระดับสนทนา
๒.กาลเทศะ การใช้ภาษาให้ถูกต้องควรคำนึงถึงกาละหรือโอกาส และเทศะหรือสถานที่
๓.เนื้อของสาระ การใช้ภาษาระดับใดขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อ
๔.วิธีการสื่อสาร วิธีการสื่อสารที่มีลักษณะเปิดเผย แม้จะส่งสารถึงเพื่อนใกล้ชิดสนิทสนม ก็ไม่ควรใช้ภาษาระดับกันเอง เพราะถ้ามีผู้อื่นมาเห็นเข้าก็จะเกิด
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้เขียนได้ ถ้าเป็นการสื่อสารผ่านมวลชน ก็ยิ่งจะต้องระมัดระวังมากขึ้น

การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยี



คำศัพท์ทางวิชาการ
คำศัพท์ทางวิชาการ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพ ส่วนมากจะพบในงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความ หนังสืออ้างอิง
หรือในการประชุมทางวิชาการ เช่น การอภิปราย การสัมมนา
ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาการ
• คำศัพท์ในวงการธุรกิจ เช่น อุปสงค์ อุปทาน หุ้น ดรรชนี งบดุล ผู้ผลิต ผู้บริโภค
• คำศัพท์ในวงการแพทย์ เช่น โคม่า ไอซียู โอพีดี อายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์
• คำศัพท์ในวงการศึกษา เช่น ความคิดรวบยอด แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยกิต การประเมินตามสภาพจริง



คำศัพท์ทางเทคโนโลยี
คำศัพท์ทางเทคโนโลยี หมายถึง คำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากวิทยาการทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในด้านการทำงาน
และการศึกษาหาความรู้
ตัวอย่างคำศัพท์ทางเทคโนโลยี
ดิจิตอล (digital) แฟ้มข้อมูล (file) รายการเลือก (menu) จอภาพ (monitor) เครือข่าย (network) เครื่องพิมพ์ (printer) นักเขียนโปรแกรม (programmer) ฯลฯ
การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยีให้ถูกต้อง ควรศึกษาค้นคว้าความหมายของคำศัพท์ได้จากพจนานุกรมศัพท์วิชาการเฉพาะสาขา


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ
ขั้นตอนการใช้มีดังนี้
๑.การสืบค้นข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ หรือสืบค้นจากเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาแหล่งข้อมูล (search engine)
๒.การพิจารณาข้อมูล ควรวิเคราะห์ข้อมูลที่สืบค้นได้ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เนื้อหาถูกต้องและเข้าใจง่ายหรือไม่
ใช้ภาษาถูกต้องชัดเจนหรือไม่
๓.การจัดเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน โดยการคัดลอกข้อมูลมาไว้ในโปรแกรมประมวลผลคำ(word processor) หรือถ่ายโอน (download)
มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
๔.การอ้างอิงข้อมูล ควรศึกษารูปแบบการอ้างอิงแหล่งข้อมูล และใช้ให้ถูกต้องไม่ควรนำข้อมูลมาใช้โดยไม่มี
การอ้างอิง การอ้างอิงที่นิยมใช้กันทั่วไปควรระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้รับผิดชอบข้อมูล ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือชื่อโปรแกรม (ประเภทสื่อ) สถานที่ผลิต แหล่งที่มาหรือชื่อเว็บไซต์
และวันเดือนปีที่เข้าถึงข้อมูล