ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๑๐


แบบฝึกหัดครั้งที่ 10 (ลอกโจทย์และคำตอบทุกข้อนะ)
1. ใครคือผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์
ก.นายชิต บุรทัต
ข. นายถนอม เกยานนท์
ค. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์
2. ผู้ประพันธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์อาศัยเค้าเรื่องมาจากเรื่องใดในมหาปรินิพพานสูตร
ก.หนังสือธรรมจักษุ
ข.พระมหากาพย์มหานิกาย
ค.บาลีอรรถกถามหานิกายวรรค
ง.สุมังคลาวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค
3. ผู้ที่แปลและเรียบเรียงหนังสือในข้อ ๒ คือใคร
ก.พระธรรมปิฎก ข.ขุนสุนทรภาษิต
ค.พระสุคุณคณาภรณ์ ง.ขุนสุนทัดอักษรสาร
4. แรงบันดาลใจของการแต่งสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากอะไร
ก.การได้อ่านพระราชนิพนธ์คำนำในอิลราชคำฉันท์ ข.การได้อ่านมหาปรินิพพานสูตร
ค.การได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ง.การได้สอบเปรียญธรรม
5. ผู้เสนอให้สามัคคีเภทคำฉันท์ใช้เป็นแบบเรียนคือ
ก.ขุนนัยวิจารณ์ ข.ขุนสุนทรภาษิต
ค.ขุนสันทัดอักษรสาร ง.ขุนพิสูจน์อักษรสาร

6. นายชิต บุรทัต เกิดเมื่อใด
ก. พ.ศ. ๒๔๓๕ ข.พ.ศ. ๒๔๓๘
ค.พ.ศ. ๒๔๔๖ ง.พ.ศ. ๒๔๕๖
7. นายชิต บุรทัต เขียนเรื่องปลุกใจให้คนรักชาติลงในหนังสือใด
ก. ศรีกรุง ข.พิมพ์ไทย
ค.สมุทรสาร ง. พิมพ์รายวัน
8. ผู้ที่ทรงพระราชทานามสกุลใก้นายชิตว่า "บุรทัต" คือใคร
ก.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ข.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ง.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
9. ข้อใดมิใช่นามแฝงของนายชิต บุรทัต
ก.แมวคราว ข.เจ้าเงาะ
ค.ไก่เขียว ง.เอกชน
10. นายชิต บุรทัตชอบกระทำอะไรก่อนแต่งบทประพันธ์
ก. เล่นหมากรุก ข. ดื่มสุรา
ค. ม่องเที่ยว ง.เล่นสักวา

ใบความรู้ 1 สามัคคีเภทคำฉันท์


ภูมิหลังของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
นายชิต บุรทัต ได้ประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยอาศัยเค้าเรื่องจาก สุมังคลาวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งพระสุคุณคณาภรณ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร แปลและเรียบเรียงลงในหนังสือธรรมจักษุ วรรณคดีคำฉันท์เรื่องนี้แต่งเสร็จในเวลาเพียง ๓ เดือน และขณะนั้น ชิต บุรทัต มีอายุเพียง ๒๒ ปีเท่านั้น

แรงบันดาลใจของการแต่งสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากมูลเหตุที่ ชิต บุรทัต ได้อ่านพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในอิลราชคำฉันท์ บทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) เมื่อครั้งบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสารประเสริฐ ในตอนท้ายของพระราชนิพนธ์คำนำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชวโรกาสแก่ผู้สนใจในทางการประพันธ์ร้อยกรอง แต่งหนังสือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระองค์ทรงตรวจแก้ชี้แนะเพื่อประโยชน์แก่การประพันธ์กวีนิพนธ์ของไทยต่อไป
ดังความว่า
"อนึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาโอกาสอันนี้เพื่อแสดงว่า ถ้าแม้ผู้ใดริเริ่มจะนิพนธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าตรวจและแนะบ้าง อย่างที่ข้าพเจ้าช่วยหลวงสารประเสริฐมานี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับข้าพเจ้าแล้วแต่ก่อนก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยินดีช่วยตรวจ และแสดงความเห็นเท่าที่ข้าพเจ้าสามารถจะทำได้ เพื่อช่วยอนุเคราะห์ผู้ที่มีความพอใจในทางจินตกวีนิพนธ์และเพื่อประโยชน์แก่วิชากวีของไทยเรานั้นด้วยใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ชิต บุรทัต ได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยวรรณคดี คำฉันท์เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยหนังสือพิมพ์ไทยจำนวน ๕๐๐ เล่ม มีขุนสันทัดอักษรสาร (ฮอก อักษรานุเคราะห์) เป็นบรรณาธิการ และมีขุนนัยวิจารณ์ ((เปล่ง ดิษยบุตร์) เป็นผู้ช่วยตรวจแก้ไขขัดเกลาต้นฉบับ หลังจากนั้นหนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์เล่มนี้ออกวางจำหน่าย ได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ชิต บุรทัต จึงได้มอบ สามัคคีเภทคำฉันท์ ให้เป็นสมบัติของหอสมุทรวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นเหตุให้กรมศิลปากรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สามัคคีเภทคำฉันท์ฉบับสำนวนแรกนี้ และต่อมาได้เป็นผู้อนุญาตให้สำนักพิมพ์เอกชนตีพิมพ์สามัคคีเภทคำฉันท์สำนวนนี้อีกหลายครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม เกยานนท์) เสนอให้กระทรวงธรรมการใช้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นแบบเรียน กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นหนังสือแบบเรียนกวีนิพนธ์ บังคับสำหรับเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (ม.๘) ใน พ.ศ. ๒๔๗๒

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่๙ พันธกิจของภาษา

แบบฝึกหัด ท 43101 (พันธกิจของภาษา)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว


1. ในปัจจุบันนี้ นักภาษาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของภาษาว่าอย่างไร
ก. ภาษาเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น
ข. ภาษาเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์เปล่งเสียงเมื่อเกิดความรู้สึกต่าง ๆ
ค. ภาษาเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
ง. ภาษาเกิดจากบรรพบุรุษแต่ละชนชาติสร้างขึ้นและถ่ายทอดให้ลูกหลาน
2. สำนวนไทยที่ว่า “ไปไหนมา สามวาสองศอก” นั้นเตือนใจเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การฟัง ข. การพูด
ค. การอ่าน ง. การเขียน
3. เรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของสำนวนไทย “ไปไหนมา สามวาสองศอก”
นั้นแสดงวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การแสดงความเคารพ ข. การทักทายปราศรัย
ค. การเดินทาง ง. การต้อนรับผู้มาเยียน
4. การทักทายปราศรัย ถึงแม้จะไร้สาระ แต่ก็ช่วยแสดงอะไรได้
ก. มารยาท ข. น้ำใจ
ค. มิตรไมตรี ง. ความรู้จักมักคุ้น
5. การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุขนั้น มนุษย์จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. รู้จักแสดงไมตรีต่อกัน
ข. รู้จักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ค. ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในสังคม
ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
6. ในการปฏิบัติตามข้อ 5 นั้น มนุษย์ต้องใช้สิ่งใดเป็นเครื่องมือสำคัญ

ก. การพูด ข. ภาษา
ค. ประเพณี ง. มนุษยสัมพันธ์

7. “ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลแต่ละคน ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างกันไป อาจหมายถึงอุปนิสัย รสนิยม สติปัญญา ความคิดอ่าน เป็นต้น” เรียกว่าอะไร
ก. เอกภาพ ข. เอกลักษณ์
ค. เอกกัตภาพ ง. เอกเทศ
8. “บุคคลแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน” เป็นความหมายของคำใด
ก. ปัจเจกบุคคล ข. เอกบุคคล
ค. เอกัตบุคคล ง. วิสามานยบุคคล
9. ภาษาไทยมักใช้คำชนิดใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ก. คำนามและคำกริยา ข. คำกริยาและคำสรรพนาม
ค. คำสรรพนามและคำวิเศษณ์ ง. คำวิเศษณ์และคำสันธาน
10. ผู้พูดคนที่ 1 “เมื่อคืนนี้คุณกับกี่ทุ่มคะ” ผู้พูดคนที่ 2 “ยังไม่ถึงสองยามเลยจ้ะ” จากบทสนทนาข้างต้นนี้ คำสรรพนามและคำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงว่าผู้พูดมีความสัมพันธ์กันในฐานะใด
ก. แม่ – ลูก ข. น้อง – พี่
ค. ภรรยา – สามี ง. เพื่อนหญิง-ชาย
11. คำพูดในข้อใดแสดงว่าผู้พูดมีลักษณะเป็นนักประชาธิปไตย
ก. เหนื่อยจัง หยุดพักกันก่อนเถอะ
ข. ฉันว่าพักเหนื่อยสักประเดี๋ยวแล้วค่อยไปต่อดีไหมจ๊ะ
ค. ฉันเหนื่อยเหลือเกิน เหนื่อยจนเดินต่อไปอีกไม่ไหวแล้ว
ง. เหนื่อยได้ยินไหม เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ยังจะให้เดินต่อไปอีกหรือ

12. คำพูดในข้อใดที่ให้กำลังใจแก่ผู้ฟังได้ดีกว่าข้ออื่น
ก. เหนื่อยก็ต้องทน อีกประเดี๋ยวก็ถึง
ข. ทนอีกหน่อยเถอะจ้ะ จวนจะถึงอยู่แล้ว
ค. เดินแค่นี้เหนื่อยแล้วหรือ อีกแป๊บเดียวก็ถึงแล้ว
ง. ฉันไม่เห็นเหนื่อยเลย ทนเอาหน่อย ที่พักอยู่ไม่ไกลหรอก
13. จากข้อ 12 คำพูดในข้อในแสดงว่าผู้พูดเป็นคนประเภท “ยกตนข่มท่าน”
ก. ข้อ ก ข. ข้อ ข
ค. ข้อ ค ง. ข้อ ง

14. หัวใจนักปราชญ์ข้อใดที่มนุษย์สามารถใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
ก. สุ ข. จิ
ค. ปุ ง. ลิ
15. ผู้ถามและผู้ตอบมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จะใช้วิธีการใดจะได้คำตอบที่ต้องการ
ก. โต้วาที ข. โต้คารม
ค. โต้แย้ง ง. โต้เถียง
16. คำพูดในข้อใดที่แสดงว่าผู้พูดไม่มีอำนาจในการกำหนดให้เหตุการณ์ที่พูดเกิดขึ้นจริงในอนาคต
ก. พรุ่งนี้เสื้อของคุณจะต้องเสร็จ
ข. อาทิตย์หน้าผมจะไปสงขลา
ค. คุณ กรุณาเปิดประตูหน่อย
ง. ให้เริ่มดำเนินการตามโครงการนี้ได้ ตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป
17. ในกรณีที่ผู้พูดเป็นนักเรียน ผู้ฟังเป็นอาจารย์ ผู้พูดควรใช้ภาษากำหนดอนาคตเช่นไร
จึงจะถูกต้องเหมาะสม
ก. อธิบายใหม่เถอะครับ
ข. ได้โปรดอธิบายใหม่อีกครั้ง
ค. กรุณาอธิบายใหม่ได้ไหมครับ
ง. อธิบายใหม่ให้ละเอียดหน่อยครับ
18. ข้อใดไม่ใช่เป็นการใช้ภาษาเพื่อกำหนดอนาคต
ก. คำตัดสินคดี ข. คำวิจารณ์
ค. คำมั่นสัญญา ง. คำพยากรณ์
19. เหตุใดมนุษย์จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา
ก. เพราะมนุษย์เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์
ข. เพราะภาษามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
ค. เพราะภาษามีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ
ง. เพราะมนุษย์มิได้คำนึงถึงว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น
20. ต้นไม้ชนิดใดนิยมปลูกกันตามบ้าน และความนิยมนี้จะสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ตกอยู่
ใต้อิทธิพลของภาษา
ก. ต้นขนุน ข. ต้นรัก
ค. ต้นพุทรา ง. ต้นลั่นทม

ตอนที่ 2 จงพิจารณาว่าการใช้ภาษาต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาอย่างไร
1. การทำสัญญา = ……………………………………………..
2. การกล่าวอวยพร = ……………………………………………..
3. การทักทายปราศรัย = ……………………………………………..
4. การทำนายโชคชะตา = ……………………………………………..
5. การบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น = ……………………………………………..

ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาด้านใด
6. “เรื่องราวสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา จึงเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับชีวิตเราทุกคนที่ควรจะให้ความสนใจมนุษย์เรานั้นได้เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติมาเป็นเวลานานแล้ว และได้ทำลายสิ่งแวดล้อมจนเกือบจะเข้าขั้นวิกฤตการคิดแสวงหาวิธีป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดความสูญเสียภาวะสิ่งแวดล้อมที่ดีและที่จำเป็นแก่ชีวิตมนุษย์” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
7. “ความสัตย์นี้จะหมายถึงแต่วาจาที่พูดจริง หรือการรักษาวาจาให้จริงอยู่เท่านั้นหามิได้ ความสัตย์ต้องประกอบพร้อมไปด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อรักษาวาจาให้จริงแล้ว ก็ต้องรักษากายและใจ หรือสรุปเนื้อความก็คือ ต้องรักษาสันดานให้จริงเป็นสัตย์สุจริตอยู่เสมอด้วย จึงจะได้ชื่อ ว่า มีสัตย์ธรรมอันประเสริฐ” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
8. “อีกชนิดหนึ่งที่เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดอันตราย พวกนี้เป็นโรคหูน้ำหนวกที่จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีน้ำหนวกที่มีกลิ่นเหม็นมาก และจะไหลไม่ค่อยหยุด ปัญหาแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดหูมาก เห็นภาพซ้อน” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
9. “การขายอาหารอีกประการหนึ่งคือ การเคลื่อนที่ไปยังย่านชุมชนต่าง ๆ ไปหาผู้คนไม่ใช่ให้คนมาหาเรา การเสนอขายเช่นนี้ดีมาก เพราะไม่จำเป็นจะต้องเช่าสถานที่ ไม่ยุ่งยากเรื่องข้าวของที่จะเก็บและวุ่นวายเรื่องของขาย การเร่ร่อนไปนี้จะต้องรู้จุดหมายปลายทางด้วยว่า เราจะกำหนดจุดไหนบ้างที่มีคนต้องการอาหารของเรา” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
10. “ดูก่อนนิกรชน อกุศลบทกรรม ทั้งสิบประการจำ และละเว้นอย่าเห็นดี การฆ่าประดาสัตว์ ฤประโยชน์บ่พึงมี อันว่าดวงชีวี ย่อมเป็นสิ่งที่ควรถนอม” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................

รูปศิลปะแขนงต่างๆ


วัฒนธรรมทางด้านที่อยู่อาศัยทั้ง 4 ภาค(ม.5)


วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๗


แบบฝึกหัดที่ ๗ เรื่องเสียงในภาษา
๑. พยัญชนะในข้อใดที่ทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะท้ายได้
ก. พ ฟ ผ ฝ ข.ด พ ฏ ฐ
ค. อ ฮ ห ณ ง. ค ฆ จ ฉ
๒. คำในข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงเดียวกันทุกคำ
ก.ควัน ฆ่า เขา คิด ข.ผ้า พาด ภาพ ฟัด
ค.ฐาน ถุง ท่าน เธอ ง.ช้าง ฉัน เฉวียง ซ่อน
๓. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของเสียงพยัญชนะ
ก. นำหน้าเสียงสระได้
ข.ตามหลังเสียงสระได้
ค.เมื่อเวลาออกเสียงลมผ่านออกมาได้โดยสะดวก
ง.ออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องมีเสียงสระประสมอยู่ด้วยเสมอ
๔. ข้อใด ไม่มี เสียงสระประสม

ก.ฉันเสียใจนิดหน่อย
ข.เขามีผีเสื้อสวยงาม
ค.น้องมีลูกคนเดียวเท่านั้น
ง.คุณพูดอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร
๕. คำประพันธ์ต่อไปนี้ ไม่มี เสียงประเภทใด “โบราณท่านว่าช้า ย่อมจะได้สองพร้า เพริศแท้ทางภา- ษิตเฮย”
ก.สระเดี่ยว ข. สระประสม
ค.พยัญชนะเดี่ยว ง. พยัญชนะประสม
๖. สำนวนในข้อใดที่ประสมด้วยสระเกินมากที่สุด
ก.เข็นครกขึ้นภูเขา ข.อย่าชักใบให้เรือเสีย
ค.อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า ง. ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
๗. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โททุกคำ
ก.ผู้ใหญ่ที่ดี ข.ลูกจ้างที่บ้าน
ค.กุ้งแห้งน้องน้อย ง.ความสุขสมหวัง
๘. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง ๕ เสียง
ก. เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงใด ข.เสียงนุชพี่ฤาใคร ใคร่รู้
ค.เสียงสรวลเสียงทรามวัย นุชพี่ มาแม่ ง.เสียงบังอรสมรผู้ อื่นนั้นฤามี
๙. ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
ก.โบแดงแสลงใจ ข.โบรักสีดำ
ค.ท่านชายกำมะลอ ง.หนุ่มตำลาว สาวตำไทย
๑๐. วรรณยุกต์มีความสัมพันธ์กับภาษาไทยตามข้อใด
ก.ภาษาไทยมีลักษณะเด่นขึ้น
ข.ทุกพยางค์ต้องมีเสียงวรรณยุกต์
ค.ทำให้ภาษาไพเราะและมีคำใช้มากขึ้น
ง.ถูกทุกข้อ

เหตุผลกับภาษา


เหตุผลกับภาษา1. โครงสร้างของเหตุผล
1. เหตุผล (ข้อสนับสนุน)
2. ข้อสรุป
2. ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผล

1. ถ้ากล่าวถึงเหตุผลก่อนข้อสรุป จะใช้คำ ว่า จึง ดังนั้นจึง ก็เลย ก็ย่อม ทำ ให้ เช่น
ขยันเรียนจึงสอบได้คะแนนดี
2. ถ้ากล่าวถึงข้อสรุปก่อนเหตุผล จะใช้คำ ว่า เพราะ เนื่องจาก ด้วย เช่น
เขาสอบได้คะแนนดีเพราะเขาขยันเรียน
3. การอนุมาน (การสรุป) คือ กระบวนการคิดหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย วิธีนี้เป็นไปได้อย่างแน่นอน เช่น
คนไทยทุกคนต้องการข้าวเป็นอาหาร เขาเป็นคนไทยเขาจึงต้องการข้าวเป็นอาหารด้วย
2. วิธีอุปนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม วีธีนี้อาจไม่แน่นอน เช่น
ฉันฟังเพลงลูกทุ่งแล้วเห็นว่าไพเราะมาก เมื่อทุกคนในห้องฟังแล้วก็น่าจะบอกว่าไพเราะด้วย
4. การอนุมานจากเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน ซึ่งจัดเป็นการอนุมานแบบอุปนัย เพราะไม่แน่นอนเสมอไป
1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล
2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
3. การอนุมานจากผลไปหาผล

การใช้ภาษาในการแสดงความคิด


การใช้ภาษาพัฒนาความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่า
ผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่น
ความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย


วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับ
จะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำ
กิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๕

ให้นักเรียนจัดทำแผนภาพความคิดในหัวข้อ
ภาษากับเหตุผล ภาษาในการแสดงทรรศนะ และภาษากับการคิด
ใส่กระดาษ A 4 (พิมพ์หรือเขียนก็ได้)