ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ 4 ภาษากับเหตุผล


แบบฝึกหัด ครั้งที่ 4
เรื่อง ภาษากับเหตุผล
ให้นักเรียนอ่าคำถามต่อไปนี้แล้วเลือกเฉพาะคำตอบที่ถูกต้องลงสมุด
1. ข้อใดบกพร่องด้านความเป็นเหตุเป็นผล
1. การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง นักวิจัยจึงเข้าร่วมโครงการน้อย
2. สื่อมวลชนต้องเสนอข่าวอย่างเที่ยงธรรม จึงจะมีบทบาทในการสร้างสรรค์ได้
3. โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงป้องกันได้ด้วยการตรวจเลือดคู่สมรส
4. ชาวบ้านแถบนั้นมักจะเดินทางกันโดยทางน้ำ ผู้เขียนจึงบรรยายลักษณะเรือ
อย่างละเอียด

2. ข้อใดไม่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล
1.สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก ประเพณีบางอย่างจึงดำรงอยู่ได้ยาก
2.ตามแนวคิดทางสถาปัตยกรรม ความว่างอาจสำคัญกว่าเนื้อที่ในตัวบ้าน

3.นโยบายเศรษฐกิจต้องเน้นการกระจายรายได้ เพราะคนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่
4.มีการแปลและจัดพิมพ์วรรณคดีไทยออกเป็นหลายภาษาทำให้วรรณคดีไทย
เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

3. ข้อความนี้มีลักษณะการแสดงเหตุผลอย่างไร
“ในสมัยประชาธิปไตยมีวรรณกรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในไทยมาก จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าไทยรับ เอาวัฒนธรรมการเรียกขานจากวรรณกรรมเหล่านี้ โดยการลอกเลียนแบบลีลาการเขียน การใช้สำนวนและถ้อยคำต่าง ๆ หรือโดยการแปลเรื่องมาเป็นภาษาไทยโดยตรง”
1. อ้างสาเหตุไปหาผลลัพธ์ 2. อ้างผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
3. อ้างผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ 4. อ้างสาเหตุไปหาสาเหตุ

4. คำขวัญในข้อใดไม่มีการแสดงเหตุผล
1. ช่วยกันประหยัดพลังงาน ด้วยวิธีการหารสอง
2. ล้างผักให้หมดพิษ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย
3. รักชาติศาสน์กษัตริย์ ช่วยขจัดยาเสพติด
4. อย่าเดินใจลอยข้ามถนน รถจะชนเอา


5. ข้อใดเป็นประโยคแสดงเหตุผลที่มีทั้งข้อสนับสนุนและข้อสรุป
1. ตอนนี้เขารักษาการแทนปลัดกระทรวง ยังลาพักร้อนไม่ได้
2. วันนี้มีคนสนใจเข้าฟังการโต้วาทีนานาชาติมากเป็นประวัติการณ์
3. คนที่มีอุดมการณ์มักคิดทำอะไรเป็นขั้นตอนอยู่เป็นนิจ
4. ถ้าพิจารณาตามรูปการที่เกิดขึ้น เรื่องนี้ยังซับซ้อน

6.

พ่อแม่เสมอพระเจ้า บนสวรรค์
ลูกจุ่งน้อมมิ่งขวัญ กราบไหว้
ข้อใดเรียงลำดับเหตุผลเหมือนคำประพันธ์ข้างต้น
1. อันชิงนางอย่างนี้ไม่ผิดธรรม์ ธรรมเนียมนั้นมีแต่บุราณมา
2. จำจะไปต้านต่อรอฤทธิ์ ถึงม้วยมิดมิให้ใครดูหมิ่น
3. เราจะตัดศึกใหญ่ให้ย่อย่น ด้วยกำลังรี้พลเข้มแข็ง
4. เห็นจะรักเมียจริงยิ่งกว่าญาติ ไหนจะคลาดจากเมืองหมันหยาได้

7. เหตุใดในสังคมมนุษย์ที่เจริญแล้วจึงต่างพากันเน้นถึงความสำคัญของการใช้เหตุผล
1. เพราะการใช้เหตุผลเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ
2. เพราะการใช้เหตุผลแสดงว่ามนุษย์มีมันสมอง
3. เพราะการใช้เหตุผลแสดงว่ามนุษย์เรารู้จักใช้สมองดีกว่าสัตว์อื่น
4. เพราะการใช้เหตุผลจะทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องและนำไปสู่สันติวิธี
8. ข้อใดมีโครงสร้างของการแสดงเหตุผลครบถ้วน
1. ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม พุทธสุภาษิตข้อนี้ท่านทั้งหลายคงได้ยินได้ฟังกัน
มามากแล้ว
2. ใคร ๆ ที่เคยไปถึงยอดภูกระดึงมาแล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าธรรมชาติบนยอด
ภูกระดึงนั้นงดงามตรึงใจยิ่งนัก
3. ธรรมชาติของเด็กทุกคนต้องการได้รับความอบอุ่นจากอ้อมอกของมารดานับตั้งแต่วาระแรกที่
คลอดออกมาจากครรภ์มารดา และได้สัมผัสกับบรรยากาศภายนอกเป็นครั้งแรก
4. การเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายระลอกในภาคกลางของประเทศไทยครั้งนั้น ผู้คนพากันตื่นกลัว
มากทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนักในประเทศไทยของเรา


9. ข้อใดเป็นข้อสนับสนุนของข้อสรุปต่อไปนี้
“ ปัจจุบันประชาชนทั่วไปกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ช่างศิลปะ ”
1.งานศิลปะส่วนใหญ่สืบทอดกันในครอบครัวของสามัญชน
2.พระเจ้าแผ่นดินไม่เป็นองค์อุปถัมภกช่างศิลปะเหมือนในสมัยโบราณ
3.ประชาชนพอใจงานศิลปะชิ้นใดที่ช่างสร้างขึ้นก็รับซื้อไว้
4.งานศิลปะที่ช่างสร้างขึ้นในปัจจุบันไม่ตอบสนองความต้องการของราชสำนัก
10. ข้อใดใช้โครงสร้างของการแสดงเหตุผล
1. ต้นไม้บริเวณนี้เขียวขจี เพราะดินอุดมสมบูรณ์
2. อากาศร้อนอบอ้าวมาก แสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้
3. อุบัติเหตุย่อมลดลง หากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ขับเร็ว
4. พวกเราชอบไปเที่ยวสุโขทัยและอยุธยา เนื่องจากมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การอ่านแปลความ ตีความ ขยายความ

เรื่อง -การแปลความ ตีความ ขยายความ

การแปลความ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 (2525:540)ให้ความหมายว่า "แปล"ไว้ว่า "ก.ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่ง ทำให้เข้าใจความหมาย"
ชวาล แพรัตกุล(2518:228-229) ได้ให้ความหมายของคำว่า "แปล"ไว้ว่า หมายถึง การแปลเจตนา และรู้ความหมายของเรื่องราวนั้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยถ้อยคำใหม่ สำนวนใหม่
พอสรุปความหมาย"การแปลความ"ได้ว่า หมายถึง การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ เช่น
หน้าวังหรือจะสั่งด้วยนะนก ในแนบอกของพี่ว่าโหยไห้
มิทันสั่งสกุณินก็บินไป ลงจับใกล้นกตะกรุมริมวุ้มวน

คำที่ขีดเส้นใต้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง นก




การตีความ

หมายถึง การอ่านที่พยายามหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อเขียนหรืออากัปกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง เพื่อทราบความหมายหรือเจตนาที่แท้จริงที่แฝงเร้นอยู่ ถ้าเป็นการสื่อความธรรมดาก็คงไม่ต้องตีความ แต่ถ้าอากัปกิริยาท่าทางกับคำพูดขัดแย้งกัน ผู้อ่านจะต้องค้นหาความจริงว่า เจตนาที่แท้จริง หมายถึงอะไรแน่
การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป
ตัวอย่างที่ 1
"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า
ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างที่ 2
เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
(นิราศพระบาท - สุนทรภู่)

ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น

ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์ ความขมขื่นตามลำพัง

สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย

การขยายความ
คือ การนำรายละเอียดมาพูดหรืออธิบายเสริมความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น อาจเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เหตุผลยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการอ้างอิงเปรียบเทียบให้ได้เนื้อความกว้างขวางออกไป จนเป็นที่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ความโศกเกิดจากความรัก ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ผู้ที่ละความรักเสียได้ ก็ไม่โศกไม่กลัว
(พุทธภาษิต)
ขยายความได้ว่า
เมื่อบุคคลมีความรักต่อสิ่งใด หรือคนใด เขาก็ต้องการให้สิ่งนั้น คนนั้นคงอยู่กับเขาตลอดไป มนุษย์โดยทั่วไปย่อมจะกลัวว่าสิ่งนั้นๆหรือคนที่ตนรักจะสูญหายหรือจากเขาไป ด้วยธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงสูญสลายไปตามสภาพการณ์ ถ้าบุคคลรู้ความจริงข้อนี้ เขาก็จะไม่โศกไม่กลัวต่อไป

การอ่านตีความ

การอ่านตีความ (การวินิจสาร,พินิจสาร,วินิจฉัยสาร)
ความสำคัญของการอ่านตีความ

1. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่านได้หลายด้านหลายมุม
2. ทำให้เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์จากสิ่งที่อ่าน
3. ช่วยฝึกการคิดไตร่ตรองหาเหตุผล
4. ทำให้มีวิจารณญาณในการอ่าน
ประเภทของการอ่านตีความ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. การอ่านออกเสียงอย่างตีความ (การอ่านตีบท) เป็นการอ่านแบบทำเสียงให้สมบทบาท ใส่อารมณ์กับบทที่อ่านและความรู้สึกให้เหมาะสม
2. การอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจงานเขียนทุกแง่ทุกมุมเพื่อตีความเป็นพื้นฐานของการอ่านออกเสียงอย่างตีความ
ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตีความ
1. เสียง (คำ) และความหมาย เสียงของคำที่แตกต่างกัน ย่อมสื่อความหมายที่แตกต่างกัน ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ว่าเสียงของคำที่ผู้เขียนใช้นั้น สัมพันธ์กับความหมายอย่างไร
2. ภาพพจน์ ผู้อ่านต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาพพจน์ ซึ่งจะช่วยให้การอ่านตีความมีความกว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ นามนัย อธิพจน์ บุคลาธิษฐาน เป็นต้น
3. สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ในทางวรรณกรรม หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมักจะเป็นรูปธรรม ที่เป็นเครื่องแทนนามธรรม เช่น ดอกไม้แทนหญิงงาม พระเพลิงแทนความร้องแรง ฯลฯ แบ่งเป็นสัญลักษณ์ตามแบบแผน และสัญลักษณ์ส่วนตัว
4. พื้นหลังของเหตุการณ์ คือ ความเป็นไปในสมัยที่งานเขียนเรื่องนั้นได้แต่งขึ้น รวมถึงลัทธิความเชื่อ สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ของยุคสมัย
5. ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านตีความ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่ง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ปรัชญา ศาสนา
6. องค์ประกอบที่ทำให้การอ่านตีความแตกต่างกัน ได้แก่ ความสนใจ ประสบการณ์ จินตนาการ เจตคติ ระดับสติปัญญา ความรู้และวัย
7. เกณฑ์การพิจารณาการอ่านตีความ การตีความงานเขียน ความผิดถูกไม่ใช่เรื่องสำคัญ อยู่ที่มีความลึกซึ้งกว้างขวางและมีความสมเหตุสมผล

กลวิธีการอ่านตีความ (กระบวนการอ่านตีความ
1. การวิเคราะห์เพื่อการตีความ หมายถึง การพิจารณารูปแบบเนื้อหา กลวิธีการแต่ง และการใช้ภาษา
ของงานเขียน
2. พิจารณารายละเอียดของงานเขียน จะต้องพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ คือ
2.1 พิจารณาว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง เรื่องใดเป็นข้อคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกและอารมณ์ของ ผู้เขียน ซึ่งอาจแสดงออกโดยตรง หรือแสดงออกโดยผ่านพฤติกรรมของตัวละคร
2.2 วิเคราะห์และรวบรวมปฏิกิริยาของผู้อ่านที่มีต่องานเขียน เป็นการที่ผู้อ่านวิเคราะห์ตัวเอง
2.3 การพิจารณาความคิดแทรก หมายถึง การพิจารณาข้อความรู้ความคิดที่ผู้เขียนมีไว้ในใจ แต่ไม่ได้เขียนไว้ในงานเขียนนั้นตรง ๆ
a. การตีความงานเขียน นำข้อมูลต่าง ๆ ประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจแล้วตีความงานเขียน ว่าผู้เขียนส่งสารอะไรมาให้แก่ผู้อ่าน
b. การแสดงความคิดเสริม เป็นการที่ผู้อ่านแสดงความคิดของผู้อ่านเอง โดยที่กระบวนการอ่านตีความนั้นมีส่วนยั่วยุให้คิด เป็นความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นใหม่

ตัวอย่างงานภาษากับวัฒนธรรม(เพลงกล่อมเด็กเพลงพื้นบ้าน) ม.5

ลายดอกไม้