ครูโบว์ยินดีต้อนรับค่ะ เรามาร่วมเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกันนะคะ
ร่วมเรียนรู้ภาษาไทย กับครูโบว์กันค่ะ



ปฏิทิน

เวลาทำการ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Hit Counter
Hit Counter Counter
/

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเขียนบทความ


การเขียนบทความ
บทความเป็นความเรียงที่มีลักษณะพิเศษผิดจากเรียงความเรียงธรรมดา เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น
ความมุ่งหมายในการเขียนบทความ
1. เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. เพื่อพรรณนา ทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่
3. เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดของผู้เชียน
4. เพื่ออธิบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม


ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ ดังนี้
1. ประเภทปัญหาโต้แย้ง
2. ประเภทเสนอคำแนะนำ
3. ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
4. ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
5. ประเภทเปรียบเทียบสมมติหรืออุปมาอุปไมย
ลัษณะของบทความที่ดี
1. น่าสนใจ มีเนื้อหา เหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
2. มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
3. มีขนาดกะทัดรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆถูกต้องตามหลักภาษา
4. ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
5. มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป
ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)



หลักการเขียนบทความ

การเขียนบทความมีหลักเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ มีการแบ่งโครงเรื่องเป็น 3 ตอนคือ นำเรื่อง(ความนำ) เนื้อเรื่อง(ดำเนินเรื่อง) และจบเรื่อง(ลงท้าย สรุปความ)
ขั้นตอนการเขียนบทความ
1. การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่คนกำลังสนใจ หรือกำลังเป็นข่าวเด่น ผู้เขียนมีความรู้หรือมีทางที่จะหาความรู้ที่ลึกซึ้งได้รู้จักกำหนดขอบเขตของเรื่องให้อยู่ในวงพอเหมาะเพื่อจะได้เสนอเรื่องราวและความคิดอย่างสมบูรณ์เป็นพิเศษ
2. การรวบรวมเนื้อหา กรณีมีมูล ต้องออกสืบหาให้ได้ชัดเจนอาจด้วยวิธีไปยังแหล่งต้นกำเนิด การสัมภาษณ์ การอ่านเอกสาร ทดลองปฏิบัติ จนคิดว่าเป็นหลักฐานน่าเชื่อถือได้ในทางวิชาการ ควรบันทึกข้อมูลเอกสาร อ้างอิงไว้ด้วย
3. การกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะของการเขียน เลือกสำนวนการเขียนให้ตรงกับ ความประสงค์ปลายทางว่าต้องการให้ ผู้อ่านได้รับอะไร ทำอะไร คิดอย่างไร เป็นต้น
4. การวางโครงเรื่อง เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ระวังรูปแบบของบทความที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากนั้นควรกำหนด กลวิธีการเขียนและการดำเนินเรื่องให้สอดคล้องต้องกัน ทำให้ได้สาระตรงตามจุดหมายที่วางไว้
5. การตั้งใจเขียนให้ได้เนื้อหาสาระ อ่านเพลิน ใช้ภาษาแจ่มแจ้งเร้าใจชวนให้ติดตาม ใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือเสนอทัศนะ แปลก ลึกซึ้ง ประทับใจและกว้างขวางเท่าที่จะทำได้
6. ทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่ ครอบคลุมหมดหรือยัง ถ้าไม่ตรงไม่ครอบคลุมก็ควรแก้ไข
7. เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรเก็บไว้สักสองสามวันแล้วนำมาอ่านตรวจทาน พิจารณาอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาทางทำให้ดีขึ้น ถ้ามี เวลาให้ผู้รู้อ่านวิจารณ์ด้วยก็ควรจะทำ เพื่อจะได้นำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุงผลงานจะได้สมบูรณ์มากขึ้น

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเขียน


การเขียน
1. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2. ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้
1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ
2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง


การเขียนย่อความ
การย่อความ คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประโยชน์ของการย่อความ
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราใช้ประโยชน์ในส่วนนี้โดยไม่รู้ตัว การย่อความนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทุกฝ่าย ทุกอาชีพ ทุกวัย ดังนั้น การย่อความ จึงมีประโยชน์ในการฝึกหัดอ่านในใจหรือฟังเพื่อเก็บข้อความสำคัญ ตลอดจนการฝึกหัดในการใช้ภาษาการเขียน ให้กระชับรู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
วิธีย่อความ
1) อ่านเรื่องที่ต้องการย่ออย่างละเอียด ด้วยความเป็นกลางหลายๆรอบ ว่าผู้เขียนต้องการเน้นหรือเสนอเรื่องอะไร มีความสำคัญอะไรบ้าง
2) อ่านพิจารณา จับใจความสำคัญออกมาบันทึกด้วยภาษาที่รัดกุม
3) นำใจความทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ ให้เนื้อความสำคัญกันตามลำดับโดยใช้ประโยคสั้นๆ ความหมายชัดเจน
4) ทบทวนข้อความเรียบเรียงอีกครั้ง ดูความบกพร่องอย่างถี่ถ้วนว่า ความหมายของเรื่องตกไปหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
5) บทความที่นำมาย่อ การชี้แจงที่มาของข้อความที่นำมาย่อ นิยมใช้แบบขึ้นต้นย่อความดังนี้ย่อความร้อยแก้วธรรมดา ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อเรื่องอะไร
- ใครเป็นผู้แต่ง
- จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร
- มีความว่า……
ย่อจดหมายขึ้นต้น ดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- มีความว่า……
ถ้าเป็นจดหมายตอบรับ ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อจดหมายของใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าไร (ถ้าเป็นจดหมายราชการ)
- เรื่องอะไร
- วัน เดือน ปี อะไร
- ความฉบับแรกว่าอะไร
- ใครตอบเมื่อไร
- มีความว่า….
ย่อพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถาสุนทรพจน์ คำปราศรัย ขึ้นต้นดังนี้
- ย่อ…..ของใคร
- กล่าว (แสดง,ให้,พระราชทาน…..ฯลฯ) แก่ใคร
- เรื่องอะไร (ถ้ามี)
- เนื่องในงานอะไร(ถ้ามี)
- ณ ที่ใด
- เมื่อไร
- ถ้าย่อจากหนังสือ ให้บอก วัน เดือน ปี ปีที่พิมพ์ และหน้า
- มีความว่า……


ที่มา : http://www.geocities.com/taoliks/e007.htm.

การใช้ระดับภาษา

การใช้ภาษาตามระดับภาษา



ลักษณะภาษาในระดับต่างๆ

ภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
๑. ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อสารมวลชน
หรือในที่ประชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถาคำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด
๒. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน
สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม
จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการวิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับ
กึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ
จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง
๔. ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษา
ไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา ได้แก่ การสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาใน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร
จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์
๕. ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษา
อาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น
บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์



หลักการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา

การใช้ภาษาระดับใดในการสื่อสารจึงจะเหมาะสมนั้น ควรพิจารณาดังนี้
๑. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ถ้าใช้ภาษาสื่อสารกับบุคคลที่มีความคุ้นเคย ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากอาจใช้ภาษาระดับกันเอง แต่ถ้าไม่คุ้นเคยกับบุคคลนั้น
ควรใช้ภาษาระดับสนทนา
๒.กาลเทศะ การใช้ภาษาให้ถูกต้องควรคำนึงถึงกาละหรือโอกาส และเทศะหรือสถานที่
๓.เนื้อของสาระ การใช้ภาษาระดับใดขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อ
๔.วิธีการสื่อสาร วิธีการสื่อสารที่มีลักษณะเปิดเผย แม้จะส่งสารถึงเพื่อนใกล้ชิดสนิทสนม ก็ไม่ควรใช้ภาษาระดับกันเอง เพราะถ้ามีผู้อื่นมาเห็นเข้าก็จะเกิด
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้เขียนได้ ถ้าเป็นการสื่อสารผ่านมวลชน ก็ยิ่งจะต้องระมัดระวังมากขึ้น

การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยี



คำศัพท์ทางวิชาการ
คำศัพท์ทางวิชาการ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพ ส่วนมากจะพบในงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความ หนังสืออ้างอิง
หรือในการประชุมทางวิชาการ เช่น การอภิปราย การสัมมนา
ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาการ
• คำศัพท์ในวงการธุรกิจ เช่น อุปสงค์ อุปทาน หุ้น ดรรชนี งบดุล ผู้ผลิต ผู้บริโภค
• คำศัพท์ในวงการแพทย์ เช่น โคม่า ไอซียู โอพีดี อายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์
• คำศัพท์ในวงการศึกษา เช่น ความคิดรวบยอด แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยกิต การประเมินตามสภาพจริง



คำศัพท์ทางเทคโนโลยี
คำศัพท์ทางเทคโนโลยี หมายถึง คำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากวิทยาการทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในด้านการทำงาน
และการศึกษาหาความรู้
ตัวอย่างคำศัพท์ทางเทคโนโลยี
ดิจิตอล (digital) แฟ้มข้อมูล (file) รายการเลือก (menu) จอภาพ (monitor) เครือข่าย (network) เครื่องพิมพ์ (printer) นักเขียนโปรแกรม (programmer) ฯลฯ
การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยีให้ถูกต้อง ควรศึกษาค้นคว้าความหมายของคำศัพท์ได้จากพจนานุกรมศัพท์วิชาการเฉพาะสาขา


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ
ขั้นตอนการใช้มีดังนี้
๑.การสืบค้นข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ หรือสืบค้นจากเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาแหล่งข้อมูล (search engine)
๒.การพิจารณาข้อมูล ควรวิเคราะห์ข้อมูลที่สืบค้นได้ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เนื้อหาถูกต้องและเข้าใจง่ายหรือไม่
ใช้ภาษาถูกต้องชัดเจนหรือไม่
๓.การจัดเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน โดยการคัดลอกข้อมูลมาไว้ในโปรแกรมประมวลผลคำ(word processor) หรือถ่ายโอน (download)
มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
๔.การอ้างอิงข้อมูล ควรศึกษารูปแบบการอ้างอิงแหล่งข้อมูล และใช้ให้ถูกต้องไม่ควรนำข้อมูลมาใช้โดยไม่มี
การอ้างอิง การอ้างอิงที่นิยมใช้กันทั่วไปควรระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้รับผิดชอบข้อมูล ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือชื่อโปรแกรม (ประเภทสื่อ) สถานที่ผลิต แหล่งที่มาหรือชื่อเว็บไซต์
และวันเดือนปีที่เข้าถึงข้อมูล



วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้ที่ 12 สืบค้นศัพท์น่ารู้ (สามัคคีเภทคำฉันท์)


แบบฝึกหัดครั้งที่ 12
เรื่องสามัคคีเภทฉันท์ (คำศัพท์)
คำสั่ง ให้นักเรียนจับคู่คำและความหมายด้วยกรนำตัวอักษรหน้าความหมายมาเติมลงในที่ว่างหน้าข้อ
.....1. สิกขสภา ก. ตามลำดับ
.....2. กระทู้ ข. การตัดขาด
.....3. วัญจโนบาย ค. ละมุนละม่อม
.....4. อนุกรม ง. กลับ
.....5. รโหฐาน จ. ห้องเรียน
.....6. วาทประเทือง ฉ.แนะนำ,สั่งสอน
.....7. นิวัต ช. อุบายหลอกลวง
.....8. ประศาสน์ ซ. พูดรู้กันดีแล้ว
.....9. พิเฉท ฌ. ถามตามเรื่องที่มีมา
.....10.เสาวภาพ ญ. ที่สงัด,ที่ลับ
.....11. ดนัย ฎ. การแตก,การทำลาย
.....12. ถามนยมาน ฏ. ข้อความ
.....13. ภิทนะ ฐ. เดือดร้อน
.....14. ปริยาย ฑ. ขลาด,กลัว
.....15. ภีรุก ฒ. ลูกชาย
.....16. อนัตถ์ ณ. ไม่เป็นประโยชน์
.....17. อาดูร ด. โดยทางอ้อม
.....18. ปรากรม ต. ระหว่างป่า
.....19. ภูมิศ ถ.ไม้ไผ่
.....20. พระบัณฑูร ท. บรรเทา
.....21. วนันดร ธ. วันรุ่งขึ้น
.....22. อุฬุมป์ น. ความเพียร,ความบากบั่น
.....23. เวฬุ บ. ฝูงชน
.....24. วินุท ป. ธุระอันหนักยิ่งที่ต้องกระทำ
.....25. ทิวรุ่ง ผ. พระราชา
.....26. สมัครภาพ ฝ. แพ
.....27.นรนิกร พ. ความข่มใจ
.....28. ภาโรปกรณ์ ฟ. คำสั่ง
…... 29. ทม ภ. ที่ซึ่งมีความสุข
.....30. สุขาลัย ม. ความพร้องเพรียง

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้ที่ 11(สามัคคีเภทคำฉันท์)


กิจกรรมที่2 อ่านอย่างมีวิจารณญาณ

1.การกระทำของวัสสการพราหมณ์น่ายกย่องหรือไม่ เพราะเหตุใด
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2.วัสสการพราหมณ์ดำเนินการอย่างไรในแคว้นลิจฉวี
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3.แคว้นลิจฉวีตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นวัชชีเพราะเหตุใด
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................................................
4.หากให้นักเรียนเลือกเป็นตัวละรในเรื่องนี้ 1 ตัว นักเรียนอยากเป็นใคร เพราะเหตุใด
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................................................

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๑๐


แบบฝึกหัดครั้งที่ 10 (ลอกโจทย์และคำตอบทุกข้อนะ)
1. ใครคือผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์
ก.นายชิต บุรทัต
ข. นายถนอม เกยานนท์
ค. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์
2. ผู้ประพันธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์อาศัยเค้าเรื่องมาจากเรื่องใดในมหาปรินิพพานสูตร
ก.หนังสือธรรมจักษุ
ข.พระมหากาพย์มหานิกาย
ค.บาลีอรรถกถามหานิกายวรรค
ง.สุมังคลาวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค
3. ผู้ที่แปลและเรียบเรียงหนังสือในข้อ ๒ คือใคร
ก.พระธรรมปิฎก ข.ขุนสุนทรภาษิต
ค.พระสุคุณคณาภรณ์ ง.ขุนสุนทัดอักษรสาร
4. แรงบันดาลใจของการแต่งสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากอะไร
ก.การได้อ่านพระราชนิพนธ์คำนำในอิลราชคำฉันท์ ข.การได้อ่านมหาปรินิพพานสูตร
ค.การได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ง.การได้สอบเปรียญธรรม
5. ผู้เสนอให้สามัคคีเภทคำฉันท์ใช้เป็นแบบเรียนคือ
ก.ขุนนัยวิจารณ์ ข.ขุนสุนทรภาษิต
ค.ขุนสันทัดอักษรสาร ง.ขุนพิสูจน์อักษรสาร

6. นายชิต บุรทัต เกิดเมื่อใด
ก. พ.ศ. ๒๔๓๕ ข.พ.ศ. ๒๔๓๘
ค.พ.ศ. ๒๔๔๖ ง.พ.ศ. ๒๔๕๖
7. นายชิต บุรทัต เขียนเรื่องปลุกใจให้คนรักชาติลงในหนังสือใด
ก. ศรีกรุง ข.พิมพ์ไทย
ค.สมุทรสาร ง. พิมพ์รายวัน
8. ผู้ที่ทรงพระราชทานามสกุลใก้นายชิตว่า "บุรทัต" คือใคร
ก.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ข.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ง.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
9. ข้อใดมิใช่นามแฝงของนายชิต บุรทัต
ก.แมวคราว ข.เจ้าเงาะ
ค.ไก่เขียว ง.เอกชน
10. นายชิต บุรทัตชอบกระทำอะไรก่อนแต่งบทประพันธ์
ก. เล่นหมากรุก ข. ดื่มสุรา
ค. ม่องเที่ยว ง.เล่นสักวา

ใบความรู้ 1 สามัคคีเภทคำฉันท์


ภูมิหลังของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
นายชิต บุรทัต ได้ประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยอาศัยเค้าเรื่องจาก สุมังคลาวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งพระสุคุณคณาภรณ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร แปลและเรียบเรียงลงในหนังสือธรรมจักษุ วรรณคดีคำฉันท์เรื่องนี้แต่งเสร็จในเวลาเพียง ๓ เดือน และขณะนั้น ชิต บุรทัต มีอายุเพียง ๒๒ ปีเท่านั้น

แรงบันดาลใจของการแต่งสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากมูลเหตุที่ ชิต บุรทัต ได้อ่านพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในอิลราชคำฉันท์ บทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) เมื่อครั้งบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสารประเสริฐ ในตอนท้ายของพระราชนิพนธ์คำนำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชวโรกาสแก่ผู้สนใจในทางการประพันธ์ร้อยกรอง แต่งหนังสือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระองค์ทรงตรวจแก้ชี้แนะเพื่อประโยชน์แก่การประพันธ์กวีนิพนธ์ของไทยต่อไป
ดังความว่า
"อนึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาโอกาสอันนี้เพื่อแสดงว่า ถ้าแม้ผู้ใดริเริ่มจะนิพนธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีความปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าตรวจและแนะบ้าง อย่างที่ข้าพเจ้าช่วยหลวงสารประเสริฐมานี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับข้าพเจ้าแล้วแต่ก่อนก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยินดีช่วยตรวจ และแสดงความเห็นเท่าที่ข้าพเจ้าสามารถจะทำได้ เพื่อช่วยอนุเคราะห์ผู้ที่มีความพอใจในทางจินตกวีนิพนธ์และเพื่อประโยชน์แก่วิชากวีของไทยเรานั้นด้วยใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ชิต บุรทัต ได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยวรรณคดี คำฉันท์เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยหนังสือพิมพ์ไทยจำนวน ๕๐๐ เล่ม มีขุนสันทัดอักษรสาร (ฮอก อักษรานุเคราะห์) เป็นบรรณาธิการ และมีขุนนัยวิจารณ์ ((เปล่ง ดิษยบุตร์) เป็นผู้ช่วยตรวจแก้ไขขัดเกลาต้นฉบับ หลังจากนั้นหนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์เล่มนี้ออกวางจำหน่าย ได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ชิต บุรทัต จึงได้มอบ สามัคคีเภทคำฉันท์ ให้เป็นสมบัติของหอสมุทรวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นเหตุให้กรมศิลปากรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สามัคคีเภทคำฉันท์ฉบับสำนวนแรกนี้ และต่อมาได้เป็นผู้อนุญาตให้สำนักพิมพ์เอกชนตีพิมพ์สามัคคีเภทคำฉันท์สำนวนนี้อีกหลายครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม เกยานนท์) เสนอให้กระทรวงธรรมการใช้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นแบบเรียน กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นหนังสือแบบเรียนกวีนิพนธ์ บังคับสำหรับเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (ม.๘) ใน พ.ศ. ๒๔๗๒

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่๙ พันธกิจของภาษา

แบบฝึกหัด ท 43101 (พันธกิจของภาษา)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว


1. ในปัจจุบันนี้ นักภาษาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของภาษาว่าอย่างไร
ก. ภาษาเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น
ข. ภาษาเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์เปล่งเสียงเมื่อเกิดความรู้สึกต่าง ๆ
ค. ภาษาเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
ง. ภาษาเกิดจากบรรพบุรุษแต่ละชนชาติสร้างขึ้นและถ่ายทอดให้ลูกหลาน
2. สำนวนไทยที่ว่า “ไปไหนมา สามวาสองศอก” นั้นเตือนใจเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การฟัง ข. การพูด
ค. การอ่าน ง. การเขียน
3. เรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของสำนวนไทย “ไปไหนมา สามวาสองศอก”
นั้นแสดงวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การแสดงความเคารพ ข. การทักทายปราศรัย
ค. การเดินทาง ง. การต้อนรับผู้มาเยียน
4. การทักทายปราศรัย ถึงแม้จะไร้สาระ แต่ก็ช่วยแสดงอะไรได้
ก. มารยาท ข. น้ำใจ
ค. มิตรไมตรี ง. ความรู้จักมักคุ้น
5. การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุขนั้น มนุษย์จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ก. รู้จักแสดงไมตรีต่อกัน
ข. รู้จักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ค. ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในสังคม
ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
6. ในการปฏิบัติตามข้อ 5 นั้น มนุษย์ต้องใช้สิ่งใดเป็นเครื่องมือสำคัญ

ก. การพูด ข. ภาษา
ค. ประเพณี ง. มนุษยสัมพันธ์

7. “ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลแต่ละคน ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างกันไป อาจหมายถึงอุปนิสัย รสนิยม สติปัญญา ความคิดอ่าน เป็นต้น” เรียกว่าอะไร
ก. เอกภาพ ข. เอกลักษณ์
ค. เอกกัตภาพ ง. เอกเทศ
8. “บุคคลแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน” เป็นความหมายของคำใด
ก. ปัจเจกบุคคล ข. เอกบุคคล
ค. เอกัตบุคคล ง. วิสามานยบุคคล
9. ภาษาไทยมักใช้คำชนิดใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ก. คำนามและคำกริยา ข. คำกริยาและคำสรรพนาม
ค. คำสรรพนามและคำวิเศษณ์ ง. คำวิเศษณ์และคำสันธาน
10. ผู้พูดคนที่ 1 “เมื่อคืนนี้คุณกับกี่ทุ่มคะ” ผู้พูดคนที่ 2 “ยังไม่ถึงสองยามเลยจ้ะ” จากบทสนทนาข้างต้นนี้ คำสรรพนามและคำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงว่าผู้พูดมีความสัมพันธ์กันในฐานะใด
ก. แม่ – ลูก ข. น้อง – พี่
ค. ภรรยา – สามี ง. เพื่อนหญิง-ชาย
11. คำพูดในข้อใดแสดงว่าผู้พูดมีลักษณะเป็นนักประชาธิปไตย
ก. เหนื่อยจัง หยุดพักกันก่อนเถอะ
ข. ฉันว่าพักเหนื่อยสักประเดี๋ยวแล้วค่อยไปต่อดีไหมจ๊ะ
ค. ฉันเหนื่อยเหลือเกิน เหนื่อยจนเดินต่อไปอีกไม่ไหวแล้ว
ง. เหนื่อยได้ยินไหม เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ยังจะให้เดินต่อไปอีกหรือ

12. คำพูดในข้อใดที่ให้กำลังใจแก่ผู้ฟังได้ดีกว่าข้ออื่น
ก. เหนื่อยก็ต้องทน อีกประเดี๋ยวก็ถึง
ข. ทนอีกหน่อยเถอะจ้ะ จวนจะถึงอยู่แล้ว
ค. เดินแค่นี้เหนื่อยแล้วหรือ อีกแป๊บเดียวก็ถึงแล้ว
ง. ฉันไม่เห็นเหนื่อยเลย ทนเอาหน่อย ที่พักอยู่ไม่ไกลหรอก
13. จากข้อ 12 คำพูดในข้อในแสดงว่าผู้พูดเป็นคนประเภท “ยกตนข่มท่าน”
ก. ข้อ ก ข. ข้อ ข
ค. ข้อ ค ง. ข้อ ง

14. หัวใจนักปราชญ์ข้อใดที่มนุษย์สามารถใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
ก. สุ ข. จิ
ค. ปุ ง. ลิ
15. ผู้ถามและผู้ตอบมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จะใช้วิธีการใดจะได้คำตอบที่ต้องการ
ก. โต้วาที ข. โต้คารม
ค. โต้แย้ง ง. โต้เถียง
16. คำพูดในข้อใดที่แสดงว่าผู้พูดไม่มีอำนาจในการกำหนดให้เหตุการณ์ที่พูดเกิดขึ้นจริงในอนาคต
ก. พรุ่งนี้เสื้อของคุณจะต้องเสร็จ
ข. อาทิตย์หน้าผมจะไปสงขลา
ค. คุณ กรุณาเปิดประตูหน่อย
ง. ให้เริ่มดำเนินการตามโครงการนี้ได้ ตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป
17. ในกรณีที่ผู้พูดเป็นนักเรียน ผู้ฟังเป็นอาจารย์ ผู้พูดควรใช้ภาษากำหนดอนาคตเช่นไร
จึงจะถูกต้องเหมาะสม
ก. อธิบายใหม่เถอะครับ
ข. ได้โปรดอธิบายใหม่อีกครั้ง
ค. กรุณาอธิบายใหม่ได้ไหมครับ
ง. อธิบายใหม่ให้ละเอียดหน่อยครับ
18. ข้อใดไม่ใช่เป็นการใช้ภาษาเพื่อกำหนดอนาคต
ก. คำตัดสินคดี ข. คำวิจารณ์
ค. คำมั่นสัญญา ง. คำพยากรณ์
19. เหตุใดมนุษย์จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา
ก. เพราะมนุษย์เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์
ข. เพราะภาษามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
ค. เพราะภาษามีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ
ง. เพราะมนุษย์มิได้คำนึงถึงว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น
20. ต้นไม้ชนิดใดนิยมปลูกกันตามบ้าน และความนิยมนี้จะสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ตกอยู่
ใต้อิทธิพลของภาษา
ก. ต้นขนุน ข. ต้นรัก
ค. ต้นพุทรา ง. ต้นลั่นทม

ตอนที่ 2 จงพิจารณาว่าการใช้ภาษาต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาอย่างไร
1. การทำสัญญา = ……………………………………………..
2. การกล่าวอวยพร = ……………………………………………..
3. การทักทายปราศรัย = ……………………………………………..
4. การทำนายโชคชะตา = ……………………………………………..
5. การบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น = ……………………………………………..

ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาด้านใด
6. “เรื่องราวสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา จึงเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับชีวิตเราทุกคนที่ควรจะให้ความสนใจมนุษย์เรานั้นได้เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติมาเป็นเวลานานแล้ว และได้ทำลายสิ่งแวดล้อมจนเกือบจะเข้าขั้นวิกฤตการคิดแสวงหาวิธีป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดความสูญเสียภาวะสิ่งแวดล้อมที่ดีและที่จำเป็นแก่ชีวิตมนุษย์” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
7. “ความสัตย์นี้จะหมายถึงแต่วาจาที่พูดจริง หรือการรักษาวาจาให้จริงอยู่เท่านั้นหามิได้ ความสัตย์ต้องประกอบพร้อมไปด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อรักษาวาจาให้จริงแล้ว ก็ต้องรักษากายและใจ หรือสรุปเนื้อความก็คือ ต้องรักษาสันดานให้จริงเป็นสัตย์สุจริตอยู่เสมอด้วย จึงจะได้ชื่อ ว่า มีสัตย์ธรรมอันประเสริฐ” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
8. “อีกชนิดหนึ่งที่เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดอันตราย พวกนี้เป็นโรคหูน้ำหนวกที่จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีน้ำหนวกที่มีกลิ่นเหม็นมาก และจะไหลไม่ค่อยหยุด ปัญหาแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดหูมาก เห็นภาพซ้อน” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
9. “การขายอาหารอีกประการหนึ่งคือ การเคลื่อนที่ไปยังย่านชุมชนต่าง ๆ ไปหาผู้คนไม่ใช่ให้คนมาหาเรา การเสนอขายเช่นนี้ดีมาก เพราะไม่จำเป็นจะต้องเช่าสถานที่ ไม่ยุ่งยากเรื่องข้าวของที่จะเก็บและวุ่นวายเรื่องของขาย การเร่ร่อนไปนี้จะต้องรู้จุดหมายปลายทางด้วยว่า เราจะกำหนดจุดไหนบ้างที่มีคนต้องการอาหารของเรา” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................
10. “ดูก่อนนิกรชน อกุศลบทกรรม ทั้งสิบประการจำ และละเว้นอย่าเห็นดี การฆ่าประดาสัตว์ ฤประโยชน์บ่พึงมี อันว่าดวงชีวี ย่อมเป็นสิ่งที่ควรถนอม” พัฒนามนุษย์ด้าน.....................................................................................................................

รูปศิลปะแขนงต่างๆ


วัฒนธรรมทางด้านที่อยู่อาศัยทั้ง 4 ภาค(ม.5)


วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๗


แบบฝึกหัดที่ ๗ เรื่องเสียงในภาษา
๑. พยัญชนะในข้อใดที่ทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะท้ายได้
ก. พ ฟ ผ ฝ ข.ด พ ฏ ฐ
ค. อ ฮ ห ณ ง. ค ฆ จ ฉ
๒. คำในข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงเดียวกันทุกคำ
ก.ควัน ฆ่า เขา คิด ข.ผ้า พาด ภาพ ฟัด
ค.ฐาน ถุง ท่าน เธอ ง.ช้าง ฉัน เฉวียง ซ่อน
๓. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของเสียงพยัญชนะ
ก. นำหน้าเสียงสระได้
ข.ตามหลังเสียงสระได้
ค.เมื่อเวลาออกเสียงลมผ่านออกมาได้โดยสะดวก
ง.ออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องมีเสียงสระประสมอยู่ด้วยเสมอ
๔. ข้อใด ไม่มี เสียงสระประสม

ก.ฉันเสียใจนิดหน่อย
ข.เขามีผีเสื้อสวยงาม
ค.น้องมีลูกคนเดียวเท่านั้น
ง.คุณพูดอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร
๕. คำประพันธ์ต่อไปนี้ ไม่มี เสียงประเภทใด “โบราณท่านว่าช้า ย่อมจะได้สองพร้า เพริศแท้ทางภา- ษิตเฮย”
ก.สระเดี่ยว ข. สระประสม
ค.พยัญชนะเดี่ยว ง. พยัญชนะประสม
๖. สำนวนในข้อใดที่ประสมด้วยสระเกินมากที่สุด
ก.เข็นครกขึ้นภูเขา ข.อย่าชักใบให้เรือเสีย
ค.อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า ง. ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
๗. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โททุกคำ
ก.ผู้ใหญ่ที่ดี ข.ลูกจ้างที่บ้าน
ค.กุ้งแห้งน้องน้อย ง.ความสุขสมหวัง
๘. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง ๕ เสียง
ก. เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงใด ข.เสียงนุชพี่ฤาใคร ใคร่รู้
ค.เสียงสรวลเสียงทรามวัย นุชพี่ มาแม่ ง.เสียงบังอรสมรผู้ อื่นนั้นฤามี
๙. ข้อใดเป็นคำเป็นทุกคำ
ก.โบแดงแสลงใจ ข.โบรักสีดำ
ค.ท่านชายกำมะลอ ง.หนุ่มตำลาว สาวตำไทย
๑๐. วรรณยุกต์มีความสัมพันธ์กับภาษาไทยตามข้อใด
ก.ภาษาไทยมีลักษณะเด่นขึ้น
ข.ทุกพยางค์ต้องมีเสียงวรรณยุกต์
ค.ทำให้ภาษาไพเราะและมีคำใช้มากขึ้น
ง.ถูกทุกข้อ

เหตุผลกับภาษา


เหตุผลกับภาษา1. โครงสร้างของเหตุผล
1. เหตุผล (ข้อสนับสนุน)
2. ข้อสรุป
2. ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผล

1. ถ้ากล่าวถึงเหตุผลก่อนข้อสรุป จะใช้คำ ว่า จึง ดังนั้นจึง ก็เลย ก็ย่อม ทำ ให้ เช่น
ขยันเรียนจึงสอบได้คะแนนดี
2. ถ้ากล่าวถึงข้อสรุปก่อนเหตุผล จะใช้คำ ว่า เพราะ เนื่องจาก ด้วย เช่น
เขาสอบได้คะแนนดีเพราะเขาขยันเรียน
3. การอนุมาน (การสรุป) คือ กระบวนการคิดหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย วิธีนี้เป็นไปได้อย่างแน่นอน เช่น
คนไทยทุกคนต้องการข้าวเป็นอาหาร เขาเป็นคนไทยเขาจึงต้องการข้าวเป็นอาหารด้วย
2. วิธีอุปนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม วีธีนี้อาจไม่แน่นอน เช่น
ฉันฟังเพลงลูกทุ่งแล้วเห็นว่าไพเราะมาก เมื่อทุกคนในห้องฟังแล้วก็น่าจะบอกว่าไพเราะด้วย
4. การอนุมานจากเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน ซึ่งจัดเป็นการอนุมานแบบอุปนัย เพราะไม่แน่นอนเสมอไป
1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล
2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
3. การอนุมานจากผลไปหาผล

การใช้ภาษาในการแสดงความคิด


การใช้ภาษาพัฒนาความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำ และโดยการใช้ภาษา โดยการกระทำ บางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่า
ผู้กระทำ มีความคิดอย่างไรจึงต้องมีการอธิบายด้วยจึงจะรู้ว่าผู้กระทำ มีความคิดอย่างไร ในขณะที่มนุษย์คิดอยู่นั้นย่อมใช้
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วย เมื่อมีโอกาสใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดใดๆ ออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับคนอื่น
ความคิดของคนนั้นก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย


วิธีคิดของมนุษย์มีดังนี้
1. คิดเชิงวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
2. คิดเชิงสังเคราะห์ คือ การคิดรวบรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำ หรับ
จะได้นำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3. คิดเชิงประเมินค่า คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุ ผลงาน การกระทำ
กิจกรรมก็ได้ ว่าสิ่งนั้นดีเลว มีคุณหรือมีโทษ คุ้มหรือไม่คุ้ม เป็นต้น

แบบฝึกหัดครั้งที่ ๕

ให้นักเรียนจัดทำแผนภาพความคิดในหัวข้อ
ภาษากับเหตุผล ภาษาในการแสดงทรรศนะ และภาษากับการคิด
ใส่กระดาษ A 4 (พิมพ์หรือเขียนก็ได้)

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดครั้งที่ 4 ภาษากับเหตุผล


แบบฝึกหัด ครั้งที่ 4
เรื่อง ภาษากับเหตุผล
ให้นักเรียนอ่าคำถามต่อไปนี้แล้วเลือกเฉพาะคำตอบที่ถูกต้องลงสมุด
1. ข้อใดบกพร่องด้านความเป็นเหตุเป็นผล
1. การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง นักวิจัยจึงเข้าร่วมโครงการน้อย
2. สื่อมวลชนต้องเสนอข่าวอย่างเที่ยงธรรม จึงจะมีบทบาทในการสร้างสรรค์ได้
3. โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงป้องกันได้ด้วยการตรวจเลือดคู่สมรส
4. ชาวบ้านแถบนั้นมักจะเดินทางกันโดยทางน้ำ ผู้เขียนจึงบรรยายลักษณะเรือ
อย่างละเอียด

2. ข้อใดไม่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล
1.สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก ประเพณีบางอย่างจึงดำรงอยู่ได้ยาก
2.ตามแนวคิดทางสถาปัตยกรรม ความว่างอาจสำคัญกว่าเนื้อที่ในตัวบ้าน

3.นโยบายเศรษฐกิจต้องเน้นการกระจายรายได้ เพราะคนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่
4.มีการแปลและจัดพิมพ์วรรณคดีไทยออกเป็นหลายภาษาทำให้วรรณคดีไทย
เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

3. ข้อความนี้มีลักษณะการแสดงเหตุผลอย่างไร
“ในสมัยประชาธิปไตยมีวรรณกรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาในไทยมาก จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าไทยรับ เอาวัฒนธรรมการเรียกขานจากวรรณกรรมเหล่านี้ โดยการลอกเลียนแบบลีลาการเขียน การใช้สำนวนและถ้อยคำต่าง ๆ หรือโดยการแปลเรื่องมาเป็นภาษาไทยโดยตรง”
1. อ้างสาเหตุไปหาผลลัพธ์ 2. อ้างผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
3. อ้างผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ 4. อ้างสาเหตุไปหาสาเหตุ

4. คำขวัญในข้อใดไม่มีการแสดงเหตุผล
1. ช่วยกันประหยัดพลังงาน ด้วยวิธีการหารสอง
2. ล้างผักให้หมดพิษ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย
3. รักชาติศาสน์กษัตริย์ ช่วยขจัดยาเสพติด
4. อย่าเดินใจลอยข้ามถนน รถจะชนเอา


5. ข้อใดเป็นประโยคแสดงเหตุผลที่มีทั้งข้อสนับสนุนและข้อสรุป
1. ตอนนี้เขารักษาการแทนปลัดกระทรวง ยังลาพักร้อนไม่ได้
2. วันนี้มีคนสนใจเข้าฟังการโต้วาทีนานาชาติมากเป็นประวัติการณ์
3. คนที่มีอุดมการณ์มักคิดทำอะไรเป็นขั้นตอนอยู่เป็นนิจ
4. ถ้าพิจารณาตามรูปการที่เกิดขึ้น เรื่องนี้ยังซับซ้อน

6.

พ่อแม่เสมอพระเจ้า บนสวรรค์
ลูกจุ่งน้อมมิ่งขวัญ กราบไหว้
ข้อใดเรียงลำดับเหตุผลเหมือนคำประพันธ์ข้างต้น
1. อันชิงนางอย่างนี้ไม่ผิดธรรม์ ธรรมเนียมนั้นมีแต่บุราณมา
2. จำจะไปต้านต่อรอฤทธิ์ ถึงม้วยมิดมิให้ใครดูหมิ่น
3. เราจะตัดศึกใหญ่ให้ย่อย่น ด้วยกำลังรี้พลเข้มแข็ง
4. เห็นจะรักเมียจริงยิ่งกว่าญาติ ไหนจะคลาดจากเมืองหมันหยาได้

7. เหตุใดในสังคมมนุษย์ที่เจริญแล้วจึงต่างพากันเน้นถึงความสำคัญของการใช้เหตุผล
1. เพราะการใช้เหตุผลเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ
2. เพราะการใช้เหตุผลแสดงว่ามนุษย์มีมันสมอง
3. เพราะการใช้เหตุผลแสดงว่ามนุษย์เรารู้จักใช้สมองดีกว่าสัตว์อื่น
4. เพราะการใช้เหตุผลจะทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องและนำไปสู่สันติวิธี
8. ข้อใดมีโครงสร้างของการแสดงเหตุผลครบถ้วน
1. ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม พุทธสุภาษิตข้อนี้ท่านทั้งหลายคงได้ยินได้ฟังกัน
มามากแล้ว
2. ใคร ๆ ที่เคยไปถึงยอดภูกระดึงมาแล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าธรรมชาติบนยอด
ภูกระดึงนั้นงดงามตรึงใจยิ่งนัก
3. ธรรมชาติของเด็กทุกคนต้องการได้รับความอบอุ่นจากอ้อมอกของมารดานับตั้งแต่วาระแรกที่
คลอดออกมาจากครรภ์มารดา และได้สัมผัสกับบรรยากาศภายนอกเป็นครั้งแรก
4. การเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายระลอกในภาคกลางของประเทศไทยครั้งนั้น ผู้คนพากันตื่นกลัว
มากทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนักในประเทศไทยของเรา


9. ข้อใดเป็นข้อสนับสนุนของข้อสรุปต่อไปนี้
“ ปัจจุบันประชาชนทั่วไปกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ช่างศิลปะ ”
1.งานศิลปะส่วนใหญ่สืบทอดกันในครอบครัวของสามัญชน
2.พระเจ้าแผ่นดินไม่เป็นองค์อุปถัมภกช่างศิลปะเหมือนในสมัยโบราณ
3.ประชาชนพอใจงานศิลปะชิ้นใดที่ช่างสร้างขึ้นก็รับซื้อไว้
4.งานศิลปะที่ช่างสร้างขึ้นในปัจจุบันไม่ตอบสนองความต้องการของราชสำนัก
10. ข้อใดใช้โครงสร้างของการแสดงเหตุผล
1. ต้นไม้บริเวณนี้เขียวขจี เพราะดินอุดมสมบูรณ์
2. อากาศร้อนอบอ้าวมาก แสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้
3. อุบัติเหตุย่อมลดลง หากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ขับเร็ว
4. พวกเราชอบไปเที่ยวสุโขทัยและอยุธยา เนื่องจากมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง